วันเสาร์ที่ 15 กันยายน พ.ศ. 2561

กรณีศึกษา บทที่ 8 AMERICA’S CUP


           
นางสาวนัทธมน   กองอุนนท์ รหัสนักศึกษา  58127328009
นางสาวสัณห์สินี  แซ่ตัง       รหัสนักศึกษา  58127328042
นางสาวชนิภรณ์   อินทร์ขำ   รหัสนักศึกษา  58127328045  
นายสัญชัย         บุญชูงาม   รหัสนักศึกษา  58127328052  
นางสาวฐานิต      อรุมชูตี    รหัสนักศึกษา  58127328075  
นายศิวนาถ         พุทธสิมา   รหัสนักศึกษา  58127328068


AMERICA'S CUP: THE TENSION BETWEEN TECHNOLOGY AND HUMAN DECISION MAKERS


1. เทคโนโลยีสารสนเทศเปลี่ยนแปลงไปอย่างไรบ้าง ในการแข่งขันขัน America's Cup
            ในปี 2013 มีการออกแบบเรือใบที่สวยงามและน่าตื่นเต้น แตกต่างจากเรือใบแบบดั้งเดิม ในศตวรรษที่ 21อย่างสิ้น เชิง เรือมีขนาด 72 ฟุต ชื่อว่า AC72s สามารถแล่นได้มากกว่า 50 ไมล์ต่อชั่วโมง เร็วที่สุดในหมู่เรือที่เคยสร้าง AC72 ใช้ ไฮโดรฟอยล์ขนาดเล็ก อยู่ใต้ลําเรือให้แรงยกมากกว่า 12,000 ปอนด์ เพื่อช่วยยกลําเรือให้สูงขึ้นจากใต้น้ําได้ เช่นเดียว กับปีกเครื่องบินที่มีไฮโดรฟอยล์ไว้ช่วยสร้างแรงยกให้กับเครื่องบินขณะที่กําลังบิน การควบคุมเรือในรูปแบบดั้งเดิม จะ ใช้ลูกเรือมองที่เรือและทะเลแล้วทําการปรับเปลี่ยนแก้ไขตามความเหมาะสม แต่ในปัจจุบันมีการพึ่งพาเทคโนโลยี สารสนเทศมาช่วยมากขึ้น มีการนําเทคโนโลยีเข้ามาช่วยในการการตัดสินใจ มีการเก็บและวิเคราะห์ข้อมูล ด้วยเซนเซอร์ ที่ติดตั้งไว้บนเรือ แล้วนําเสนอข้อมูลผ่านคอมพิวเตอร์มือถือขนาดเล็กไปยังลูกเรือแต่ละคน


2. เทคโนโลยีสารสนเทศมีผลต่อการตัดสินใจของ Team USA อย่างไร
เทคโนโลยีสารสนเทศจําเป็นสําหรับ Team USA เพราะมันจะทําให้สามารถทํางานหลายๆ อย่าง นับพันครั้งได้ใน หนึ่งชั่วโมง เทคโนโลยีสารสนเทศสามารถเพิ่มประสิทธิภาพการทางานให้ Team USA ได้เรื่อยๆ ส่งผลให้มีการตัดสิน ใจที่แม่นย่า และรวดเร็ว สามารถวัดผลได้ทันนที ทําให้ Team USA ได้เปรียบเหนือคู่แข่ง ที่มีความเข้าใจในด้าน เทคโนโลยีสารสนเทศน้อยกว่า


3. เทคโนโลยีที่ทําให้ Team USA ชนะในรายการ America's Cup
            Team USA ใช้เซ็นเซอร์ 250 ตัวบนปีกเรือและหางเสือของเรือ เพื่อรวบรวมข้อมูลแบบเรียลไทม์ เพื่อตรวจสอบ ผลของการปรับเปลี่ยนแต่ละครั้ง มีเซ็นเซอร์ตรวจสอบตัวแปรถึง 4,000 ตัว ใน 10 ครั้งต่อวินาที สามารถผลิตได้ 90 | ล้านข้อมูลต่อชั่วโมง ซึ่งข้อมูลนั้นจะถูกส่งผ่านเครือข่ายไร้สายไปยังหน้าจอบนข้อมือลูกเรือ ข้อมูลจะถูกถ่ายโอนไปยัง เรือที่กําลังวิ่งอยู่ และจัดเก็บข้อมูลไว้ในซอฟต์แวร์การจัดการฐานข้อมูล Oracle 11g สําหรับการวิเคราะห์แบบเรียลไทม์ โดยใช้สูตรการคาดการณ์ความเร็วเพื่อทําความเข้าใจว่าอะไรที่ท่าให้เรือแล่นได้เร็วและส่งข้อมูลมายังศูนย์ออราเคิล ออสติน (Oracle Austin) สําหรับการวิเคราะห์ในเชิงลึกมากขึ้น สมาชิกใน Team USA แต่ละคนจะสวมคอมพิวเตอร์มือ 1 ถือขนาดเล็กบนข้อมือ เพื่อแสดงข้อมูลที่สําคัญ ที่สมาชิกคนนั้นรับผิดชอบอยู่ กัปตันและนักยุทธวิธีมีข้อมูลที่แสดงบนแว่นตากันแดดของพวกเขา ด้วยวิธีนี้สมาชิกลูกเรือแต่ละคนจะได้รับข้อมูลที่ ต้องการจากกัปตันและนักยุทธวิธี เพื่อทําหน้าที่ของตัวเองทันที


4. เปรียบเทียบบทบาทการใช้ Big Data ของ Team USA ใน America's Cup กับการชนะฟุตบอลโลก ปี 2014 ของทีม ชาติเยอรมัน
            Team USA Big Data มีบทบาทในการช่วยเก็บและวิเคราะห์ข้อมูลของนักกีฬา ซึ่งข้อมูลที่เก็บมาวิเคราะห์นี้ก็มี ตั้งแต่ สถิติเวลาที่ทําได้ในการฝึกซ้อม ข้อมูลการฝึกซ้อมในด้านต่างๆ เช่น การเทรนด้านพละกําลัง การเทรนด้านความ อดทน และความเร็วในแล่นของเรือขณะทําการฝึกซ้อม เป็นต้น โดยข้อมูลที่เก็บได้นอกจากจะเป็นข้อมูลรายบุคคลของ นักกีฬาและข้อมูลแบบทีมแล้ว ทางทีมงานยังได้เก็บข้อมูลสภาพแวดล้อมและปัจจัยที่จะส่งผลต่อการทําเวลาและ ประสิทธิภาพของนักกีฬาไว้อีกด้วย ซึ่งข้อมูลที่ว่าก็คือ สภาพดินฟ้าอากาศ แรงลม กระแสน้ํา ซึ่งล้วนเป็นปัจจัยที่มีผลต่อ การแข่งขันทั้งสิ้น ในการแข่งขันฟุตบอลโลก Big Data มีบทบาทต่อทีมชาติเยอรมันในการระบุจุดอ่อนและจุดแข็งของผู้เล่น ช่วยปรับปรุง ประสิทธิภาพของนักฟุตบอลที่เข้าร่วมการแข่งขัน ทีมชาติเยอรมันได้ร่วมมือกับเอสเอพี (SAP) เพื่อพัฒนาฐานข้อมูล ขนาดใหญ่ ที่ประกอบด้วยข้อมูลเชิงลึกจากการแข่งขันในแมตช์ต่างๆ ซึ่งช่วยในการฝึกซ้อมนักฟุตบอลทีมชาติ และส่ง ผลให้ทีมชาติเยอรมนี้ครองถ้วยแชมป์ฟุตบอลโลกในปี 2014 แสดงให้เห็นว่าการใช้เทคโนโลยีในการรวบรวม จัดเก็บ และวิเคราะห์ข้อมูล มีส่วนช่วยให้ตัดสินใจได้ดียิ่งขึ้น


ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น