วันเสาร์ที่ 22 กันยายน พ.ศ. 2561

บทเรียนที่ 6

ความหมายของการตลาดดิจิทัล (DIGITAL MARKETING : DEFINITION)
digital marketing definition
            สื่อดิจิทัล เป็นการสื่อสารผ่านเนื้อหา (Content) และการส่งมอบการบริการที่สามารถสื่อสารกันได้สองทางโดยทันที โดยใช้รูปแบบทางเทคโนโลยีดิจิทัลที่แตกต่างกัน เช่น อินเทอร์เน็ต เว็บไซต์ มือถือ ทีวีดิจิทัล IPTV และอุปกรณ์ดิจิทัลอื่น ๆ  ซึ่งในปัจจุบันมีผู้ใช้จำนวนมหาศาล ทำให้หน่วยงานทั้งภาครัฐและเอกชนต่างปรับตัวนำเอาเทคโนโลยีใหม่ เข้ามาใช้เพื่อให้การดำเนินงานได้ดียิ่งขึ้น
            ในขณะเดียวกันพฤติกรรมผู้บริโภคที่เปลี่ยนแปลงจากการได้ใช้เทคโนโลยีที่สามารถตอบสนองการสื่อสารและประมวลผลได้อย่างรวดเร็ว มีการเรียนรู้ การใช้ และการปรับตัวเข้ากับเทคโนโลยีได้ไม่ยาก จนเทคโนโลยีและความทันสมัยต่าง ๆ กลายเป็นพื้นฐานในการใช้ชีวิตประจำวัน เช่น อินเทอร์เน็ตความเร็วสูง หรืออุปกรณ์ต่าง ๆ อาทิเช่น สมาร์ทโฟน ที่กลายมาเป็นเครื่องมือสื่อสารในชีวิตประจำวัน อีกทั้งสามารถเชื่อมต่ออินเทอร์เน็ตได้ตลอดเวลา ดังนั้นศูนย์รวบรวมข้อมูลที่ใหญ่ที่สุดในเกิดขึ้นในโลกออนไลน์ที่ทุกคนสามารถเข้าถึงและเชื่อมต่อได้ตลอดเวลา จึงไม่แปลกที่ผู้บริโภคที่มีข้อมูลที่สามารถเข้าถึงได้ตลอดเวลา ทำให้สามารถค้นหาสิ่งที่ตนเองต้องการรู้ได้อย่างรวดเร็วผ่านโครงสร้างทางดิจิทัลได้อย่างสมบูรณ์
            ดังนั้นนักการตลาดจึงต้องปรับตัวให้เข้าถึงการเปลี่ยนแปลงดังกล่าวและเปลี่ยนมุมมองจากจุดศูนย์กลางในธุรกิจคือผู้ขาย มาสู่แนวคิดที่มุ่งเน้นให้ความสำคัญกับผู้บริโภค ที่นอกจากจะเป็นผู้ซื้อและยังเป็นผู้ที่มีความน่าเชื่อถือในการให้ข้อมูลเกี่ยวกับผลิตภัณฑ์ที่ใช้ หรือความรู้สึกที่มีต่อกิจการผ่านการแบ่งปันข่าวสาร (Share) ซึ่งทำให้ผู้บริโภคกลายเป็นผู้มีอิทธิพลทางสื่อ (Infulence) ที่มีความน่าเชื่อถือกว่าการโฆษณาหรือการบอกต่อจากแบรนด์ในอดีต และเข้ามามีส่วนร่วม (Collaborate) ในการทำกิจกรรมในแบรนด์หรือกิจการที่ตนเองชื่นชอบ เช่น การสร้างชุมชนออนไลน์ที่เกี่ยวกับแบรนด์นั้นโดยเจ้าของแบรนด์ไม่ได้เป็นผู้สร้างหรือลงทุนใด ๆ เลย ที่ส่งเสริมให้แบรนด์นั้นเป็นที่รู้จักและโด่งดังมากขึ้นไปอีก
            ดังนั้นนักการตลาดจึงสนใจในการนำเทคโนโลยีมาบูรณาการร่วมกับแนวคิดการตลาดมาสู่ การตลาดเชิงดิจิทัล (Digital Marketing) ที่เป็นการนำอินเทอร์เน็ตและเทคโนโลยีทางดิจิทัลมาใช้เป็นประโยชน์มาร่วมกันกับการสื่อสารทางตลาดแบบดั้งเดิมเพื่อให้บรรลุวัตถุประสงค์ทางการตลาดผ่านการใช้สื่อและเทคโนโลยีทางดิจิทัล (Chaffey & Ellis-Chadwick, 2016) ทำให้กิจการสามารถประสบความสำเร็จได้
จริยธรรมธุรกิจของการประกอบพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์
การบริหารธุรกิจอย่างมีจริยธรรมมีองค์ประกอบอย่างไร ควรต้องมีความชัดเจน และเป็นที่ยอมรับโดยทั่วไป จริยธรรมทางธุรกิจเป็นเรื่องของการเตือนสติในการประกอบธุรกิจว่า สิ่งใดควรกระทํา และสิ่งใดควรละเว้นประเทศไทยมีความตื่นตัวเรื่องจริยธรรมทางธุรกิจค่อนข้างช้า อย่างไรก็ตามจากกระแสโลกาภิวัฒน์ทําให้องค์กรธุรกิจยุคใหม่ต้องมีการปรับตัว และบริหารงาน โดยคํานึงถึงจริยธรรมความโปร่งใสตลอดจนมีความรับผิดชอบต่อสังคมและผู้บริโภค
ในปี พ.ศ. (ค.ศ. 2001) ศูนย์สหประชาชาติเพื่อการอํานวยความสะดวกด้าน การค้าและธุรกรรมอิเล็กทรอนิกส์ (United Nations Centre for Trade Facilitation and Electronic Business : UNICEFACT) ได้มีข้อแนะนําฉบับที่ 32 (Recommendation 32) เรื่องเครื่องมือในการ กํากับดูแลตนเองของพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์-จริยธรรมทางธุรกิจ (“E-Commerce SelfRegulatory Instruments (Codes of Conducts)” โดยเห็นว่าการจัดทํา"Codes of Conducts สามารถดําเนินการได้ทันที รวดเร็วกว่าการออกกฎหมาย และมีความยืดหยุ่นสามารถนําไปปรับใช้ ตามความเหมาะสม โดยคํานึงถึงหลักการพื้นฐานที่สําคัญ คือ ความเป็นธรรม (Fairness) ต่อทุก ฝ่ายUNICEFACT ได้ยกตัวอย่างประเทศเนเธอร์แลนด์ซึ่งได้จัดทํา“Model Code of Conduct for Electronic Commerce, Electronic Commerce Platform Netherlands” โดยเห็นว่าเป็นตัวอย่าง ที่ดี และเสนอให้แต่ละประเทศนําไปพิจารณาใช้เป็นรายการตรวจสอบ (Checklists) ในการจัดทํา “Codes of Conducts” สําหรับพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ของตนต่อไป"Codes of Conducts” ของ เนเธอร์แลนด์ เน้นเรื่องความเชื่อมั่นว่าเป็นหัวใจสําคัญของพาณิชย์
อิเล็กทรอนิกส์ “Trust is the key to electronic Commerce” โดยกล่าวถึง เครื่องมือในการสร้างความเชื่อมั่น มาจากแนวคิดสําคัญ คือ สิ่งใดที่ใช้กับธุรกรรมออฟไลน์ (offline) ต้องนํามาใช้กับธุรกรรมออนไลน์ (on-line) ด้วย “Codes of Conducts” ดังกล่าว ประกอบด้วยหลักการ 3 เรื่อง คือ
1. ความเชื่อถือได้ (Reliability) ซึ่งครอบคลุมถึง ความเชื่อถือได้ของ ข้อมูลที่เผยแพร่ (Reliability of information) และการยอมรับการติดต่อสื่อสารทางอิเล็กทรอนิกส์ (Recognition of electronic communication) ความเชื่อถือได้ของระบบและองค์กร (Reliability
of systems and organization) และความเชื่อถือได้ของชนิดของลายมือชื่ออิเล็กทรอนิกส์ (Reliability of types of electronic signatures)
2. ความโปร่งใส (Transparency) หมายถึง การให้ความโปร่งใสสูงสุด ของข้อมูล (Optimal transparency of information) เช่น ข้อมูลติดต่อ ข้อมูลทะเบียนการค้า หมายเลขประจําตัวผู้เสียภาษีมูลค่าเพิ่ม รายละเอียดสินค้า รายละเอียดค่าใช้จ่ายทั้งหมด รูปแบบ และเงื่อนไขการจ่ายเงินระยะเวลาการจัดส่งสินค้า การรับประกันสินค้า กฎหมายที่เกี่ยวข้องกับการทําธุรกรรม การอํานวยความสะดวกกรณีเกิดข้อพิพาท เป็นต้น
3. ความลับและความเป็นส่วนตัว (Confidentiality and privacy) ซึ่ง ครอบคลุมถึง ความเป็นส่วนตัว (Privacy) โดยเคารพความเป็นส่วนตัวของผู้อื่น เช่นข้อมูลส่วน บุคคลต้องเก็บเป็นความลับ และนําไปใช้เมื่อได้รับการยินยอมจากอีกฝ่าย การรักษาข้อมูลที่เป็นความลับ (Confidential information) โดยระบุมาตรการที่ใช้ในการเก็บรักษาข้อมูลให้เป็นความลับ และการคุ้มครองสิทธิในทรัพย์สินทางปัญญา (Intellectual property rights)
ประเภทของอีคอมเมิร์ซ
มีการแบ่งประเภทอีคอมเมิร์ซกันหลายแบบ เช่น
· การแบ่งประเภทอีคอมเมิร์ซแบบ 5 ประเภท สามารถแบ่งได้ ดังนี้
1. ธุรกิจกับผู้ซื้อปลีกหรือบีทูซี (B-to-C = Business-to-Consumer) คือ ประเภทที่ผู้ซื้อปลีกใช้อินเทอร์เน็ตในการซื้อสินค้าจากธุรกิจที่โฆษณาอยู่ในอินเทอร์เน็ต
2. ธุรกิจกับธุรกิจหรือบีทูบี (B-to-B = Business-to-Business) คือ ประเภทที่ธุรกิจกับธุรกิจติดต่อซื้อขายสินค้ากันผ่านอินเทอร์เน็ต
3. ธุรกิจกับรัฐบาลหรือบีทูจี (B-to-G = Business-to-Government) คือ ประเภทที่ธุรกิจติดต่อกับหน่วยราชการ
4. รัฐบาลกับรัฐบาลหรือจีทูจี (G-to-G = Government to Government) คือ ประเภทที่หน่วยงานรัฐบาลหน่วยงานใดหน่วยงานหนึ่งติดต่อกับหน่วยงานรัฐบาลอีกหน่วยงาน
5. ผู้บริโภคกับผู้บริโภคหรือซีทูซี (C-to-C = Consumer-to-Consumer) คือ ประเภทที่ผู้บริโภคประกาศขายสินค้าแล้วผู้บริโภคอีกรายหนึ่งก็ซื้อไป เช่น อีเบย์ดอทคอม (Ebay.com) เป็นต้น ซึ่งผู้บริโภคสามารถจ่ายเงินให้กันทางบัตรเครดิตได้
· การแบ่งประเภทอีคอมเมิร์ซแบบ 3 ประเภท สามารถแบ่งได้ ดังนี้
1. อีคอมเมิร์ซระหว่างผู้บริโภคกับธุรกิจ หรือ บีทูซี (B-to-C = Business-to-Consumer) ซึ่งอาจจะมีตัวอย่างดังต่อไปนี้
- การติดต่อสื่อสารระหว่างผู้บริโภคกับธุรกิจโดยใช้ไปรษณีย์อิเล็กทรอนิกส์ วิดีโอคอนเฟอเรนซ์ กลุ่มสนทนา กระดานข่าว เป็นต้น
- การจัดการด้านการเงิน ช่วยให้ผู้บริโภคสามารถจัดการเรื่องการเงินส่วนตัว เช่น ฝาก-ถอน เงินกับธนาคาร ซื้อขายหุ้นกับผู้ค้าหุ้น เช่น อีเทรด (www.etrade.com)
- ซื้อขายสินค้าและข้อมูล ช่วยให้ผู้บริโภคสามารถซื้อขายสินค้าและข้อมูลผ่านอินเทอร์เน็ตได้โดยสะดวก
2. อีคอมเมิร์ซภายในองค์กรหรือแบบอินทราออร์ก (Intra-Org E-commerce) คือ การใช้อีคอมเมิร์ซในการช่วยให้บริษัทหรือองค์ใดองค์กรหนึ่งสามารถปรับปรุงการทำงานภายในและให้บริการลูกค้าได้ดีขึ้น ดังตัวอย่างต่อไปนี้
- การติดต่อสื่อสารภายในองค์กรจะสะดวกรวดเร็วจะได้ผลดีขึ้น โดยใช้ไปรษณีย์อิเล็กทรอนิกส์ วีดีโอคอนเฟอเรนซ์ และป้ายประกาศ เป็นต้น
- การจัดพิมพ์เอกสารทางอิเล็กทรอนิกส์ หรืออีพับลิซซิง (Electronic Publishing) ช่วยให้บริษัทสามารถออกแบบเอกสาร จัดพิมพ์เอกสาร และแจกจ่ายเอกสารได้สะดวกรวดเร็ว และใช้ค่าใช้จ่ายน้อย ไม่ว่าจะเป็นคู่มือข้อกำหนดสินค้า (Product Specifications) รายงานการประชุม เป็นต้น ทั้งนี้โดยผ่านเว็บ
- การปรับปรุงประสิทธิภาพพนักงานขาย การใช้อีคอมเมิร์ซแบบนี้ช่วยปรับปรุงการสื่อสารระหว่างฝ่ายผลิตกับฝ่ายขาย และระหว่างฝ่ายขายกับลูกค้า ทำให้ได้ประสิทธิภาพดีขึ้น
3. อีคอมเมิร์ซระหว่างองค์กรหรือแบบอินเตอร์ออร์ก (Inter-Org E-commerce) ซึ่งก็คือแบบเดียวกับแบบที่เรียกว่าบีทูบี (Business to Business) ทั้งนี้โดยมีตัวอย่างต่อไปนี้
- การจัดซื้อ ช่วยให้จัดซื้อได้ดีขึ้น ทั้งด้านราคา และระยะเวลาการส่งของ
- การจัดการสินค้าคงคลัง
- การจัดส่งสินค้า
- การจัดการช่องทางขายสินค้า
- การจัดการด้านการเงิน
· การแบ่งประเภทอีคอมเมิร์ซแบบ 6 ประเภท สามารถแบ่งได้ ดังนี้
1. การขายปลีกทางอิเล็กทรอนิกส์หรืออีเทลลิ่ง (E-tailing= Electronic Retailing) หรือร้านค้าเสมือนจริง (Virtual Storefront) ยอดขายปลีกอิเล็กทรอนิกส์ในอเมริกาใน ค.ศ. 1999 มีมูลค่าเป็นหมื่นล้านบาท
2. การวิจัยตลาดทางอิเล็กทรอนิกส์หรือมาร์เก็ตอีรีเซิร์ช (Market E-research) คือการใช้อินเทอร์เน็ตในการวิจัยตลาดแบบเดียวกับที่สำนักวิจัยเอแบค-เคเอสซีอินเทอร์เน็ตทำอยู่ จากการใช้อินเทอร์เน็ตนี้ บริษัทห้างร้านสามารถเก็บข้อมูลเกี่ยวกับลูกค้าปัจจุบัน และผู้ที่อาจจะเป็นลูกค้าในอนาคต ทั้งจากการลงทะเบียนเข้าใช้เว็บ จากแบบสอบถามและจากการสั่งซื้อสินค้าของลูกค้า การวิจัยตลาด อินเทอร์เน็ตก็ถือว่าเป็นส่วนหนึ่งของอีคอมเมิร์ซ
3. อินเทอร์เน็ตอีดีไอ หรือการส่งเอกสารตามมาตรฐานอีดีไอโดยใช้อินเทอร์เน็ต ซึ่งทำให้ค่าใช้จ่ายต่ำลงก็ถือว่าเป็นอีคอมเมิร์ซประเภทหนึ่ง
4. โทรสารและโทรศัพท์อินเทอร์เน็ต การใช้โทรสารและโทรศัพท์ทางไกลผ่านอินเทอร์เน็ตหรือ วีโอไอพี (VoIP= Voice over IP) นั้นมีราคาต่ำกว่าการใช้โทรสารและโทรศัพท์ธรรมดา และอาจจะใช้เป็นส่วนหนึ่งของอีคอมเมิร์ซ
5. การซื้อขายระหว่างบริษัทกับบริษัท บริษัทต่างๆ จำนวนมากในปัจจุบันติดต่อซื้อขายสินค้ากันโดยผ่านเว็บในอินเทอร์เน็ต ซึ่งก็ถือว่าเป็นส่วนหนึ่งของอีคอมเมิร์ซ
6. ระบบความปลอดภัยในอีคอมเมิร์ซ ถือว่าเป็นส่วนสำคัญของอีคอมเมิร์ซ ทั้งนี้ในปัจจุบันมีการใช้วิธีต่างๆ
· การแบ่งประเภทอีคอมเมิร์ซแบบ 2 ประเภท สามารถแบ่งได้ ดังนี้
1. สินค้าดิจิทัล เช่น ซอฟท์แวร์ เพลง วิดีโอ หนังสือดิจิทัล เป็นต้น ซึ่งสามารถส่งสินค้าได้โดยผ่านอินเทอร์เน็ต
2. สินค้าที่ไม่ใช่ดิจิทัล เช่น สินค้าหัตถกรรม สินค้าศิลปชีพ เสื้อผ้า เครื่องนุ่งห่ม เครื่องหนัง เครื่องประดับ เครื่องจักรอุปกรณ์ เป็นต้น ซึ่งต้องส่งสินค้าทางพัสดุภัณฑ์ ผ่านไปรษณีย์หรือบริษัทรับส่งพัสดุภัณฑ์
วิวัฒนาการของอีคอมเมิร์ซ
การค้าอิเล็กทรอนิกส์นั้นเริ่มขึ้นบนโลกครั้งแรกเมื่อปี พ.ศ. 2513 ซึ่งได้มีการเริ่มใช้ระบบโอนเงินทางอิเล็กทรอนิกส์หรืออีเอฟที (EFT = Electronic Fund Transfer) แต่ในขณะนั้นมีเพียงบริษัทขนาดใหญ่และสถาบันการเงินเท่านั้นที่ใช้งานระบบโอนเงินทางอิเล็กทรอนิกส์ ต่อมาอีกไม่นานก็เกิดระบบการส่งเอกสารทางอิเล็กทรอนิกส์ หรือ อีดีไอ (EDI = Electronic Data Interchange) ซึ่งสามารถช่วยขยายการส่งข้อมูลจากเดิมที่เป็นข้อมูลทางการเงินอย่างเดียวเป็นการส่งข้อมูลแบบอื่นเพิ่มขึ้น เช่น การส่งข้อมูลระหว่างสถาบันการเงินกับผู้ผลิต หรือผู้ค้าส่งกับผู้ค้าปลีก เป็นต้น
อุปกรณ์เทคโนโลยีสารสนเทศประกอบด้วย ระบบสื่อสารโทรคมนาคม ระบบคอมพิวเตอร์และระบบฐานข้อมูล ระบบสื่อสารอาจเป็นระบบพื้นฐานทั่วไป เช่นระบบโทรศัพท์ โทรสาร หรือวิทยุ โทรทัศน์ แต่ระบบอินเทอร์เน็ตซึ่งเชื่อมโยงถึงกันได้ทั่วโลก เป็นระบบเปิดกว้าง โดยเป็นระบบเครือข่ายของเครือข่าย ที่เรียกว่า world wide web มาจากความเป็นเอกลักษณ์คือสามารถสร้างให้มี hyperlink จากหน้าหนึ่งไปอีกหน้าหนึ่งไป webpage อื่น หรือไป website อื่นได้อย่างมีประสิทธิภาพ นอกจากนี้ยังสามารถสื่อได้ทั้งภาพ เสียง และภาษาหนังสือที่หลากหลายซับซ้อน สามารถมีปฏิสัมพันธ์โต้ตอบกันได้ทันทีทันใด ข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์สามารถบันทึกเก็บไว้หรือนำใช้ต่อเนื่องได้ การประยุกต์ใช้ และกระแสตอบรับธุรกิจบนอินเทอร์เน็ตจึงแพร่หลายภายในระยะเวลาอันสั้น
- การชำระเงินบน E-Commerce
จากผลการวิจัยพบว่า วิธีการชำระเงินที่สำคัญสำหรับกรณีธุรกิจกับธุรกิจร้อยละ 70 ใช้วิธีหักบัญชีธนาคาร ขณะที่ ธุรกิจกับผู้บริโภคร้อยละ 65 ชำระด้วยบัตรเครดิต สำหรับในประเทศไทย ผลการสำรวจพบว่าผู้สั่งสินค้าบนอินเทอร์เน็ตร้อยละ 40-60 ใช้บัตรเครดิตอีกร้อยละ 40 ใช้วิธีโอนเงินในบัญชี ซึ่งหมายความรวมถึง Direct Debit, Debit Card และ Fund Transfer เพื่อสร้างความเชื่อมั่นแก่ระบบการชำระเงินบนอินเทอร์เน็ต มีแนวทางการพัฒนาเพื่อบริการชำระเงินดังนี้
1. บริการ internet banking หรือธุรกิจประเภท Payment Gateway จะเป็น hyperlink ระหว่าง website ของร้านค้ากับระบบของธนาคาร และธนาคารสามารถดำเนินการตามข้อมูลที่ได้รับเพื่อตัดโอนเงินในบัญชีของลูกค้า หรือส่งเป็นคำสั่งโอนเข้าระบบการชำระเงินระหว่างธนาคารที่มีมาตรการรักษาความปลอดภัยที่ได้มาตรฐาน
2. สำหรับการชำระเงินที่เป็น Micro Payment การใช้เงินดิจิทัลซึ่งบันทึกบนบัตรสมาร์ตการ์ด หรือเครื่องคอมพิวเตอร์ สามารถสร้างเสริมระบบความปลอดภัยให้มั่นใจได้เหนือกว่าระบบบัตรเดบิตและบัตรเครดิตทั่วไป จึงเป็นแนวโน้มเทคโนโลยีที่น่าสนใจและเหมาะสม
- ความปลอดภัยกับ E-Commerce
ระบบความปลอดภัยนับเป็นเรื่องที่โดดเด่นที่สุด และมีเทคโนโลยีความปลอดภัยคือ Public Key ซึ่งมีองค์กรรับรองความถูกต้องเรียกว่า CA (Certification Authority) ระบบนี้ใช้หลักคณิตศาสตร์คำนวณรหัสคุมข้อความจากผู้ส่งและผู้รับอย่างเฉพาะเจาะจงได้ จึงสามารถพิสูจน์ตัวตนของผู้รับผู้ส่ง (Authentication) รักษาความปลอดภัยของข้อมูล (Confidentiality) ความถูกต้องไม่คลาดเคลื่อนของข้อมูล (Integrity) และผู้ส่งปฏิเสธความเป็นเจ้าของข้อมูลไม่ได้ (Non-repudiation) เรียกว่าลายมือชื่ออิเล็กทรอนิกส์ (Electronic Signature) ที่สำคัญอีกประการหนึ่งคือการมีกฎหมายรองรับการทำธุรกรรมบนเครือข่าย ประเทศในยุโรปและประเทศสหรัฐอเมริกาได้ออกกฎหมายรับรองการใช้ลายมือชื่ออิเล็กทรอนิกส์ และกฎหมายรองรับการทำธุรกิจดังกล่าว สำหรับในประเทศไทยก็เร่งจัดการออกกฎหมายเทคโนโลยีสารสนเทศ 6 ฉบับ โดยกฎหมาย 2 ฉบับแรกที่จะออกใช้ได้ก่อนคือ กฎหมายธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์และกฎหมายลายมือชื่ออิเล็กทรอนิกส์
หลังจากนั้นก็มีระบบสื่อสารรวมถึงโปรแกรมอื่น ๆ เกิดขึ้นมากมายตั้งแต่ระบบที่ใช้ในการซื้อขายหุ้นจนไปถึงระบบที่ช่วยในการสำรองที่พัก ซึ่งเรียกได้ว่าโลกได้ก้าวเข้าสู่ยุคของการสื่อสาร และเมื่อยุคของอินเทอร์เน็ตมาถึงเมื่อประมาณปี พ.ศ. 2533 จำนวนผู้ใช้อินเทอร์เน็ตได้เพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว การค้าอิเล็กทรอนิกส์ก็ได้เกิดขึ้นเหตุผลที่ทำให้ระบบการค้าอิเล็กทรอนิกส์เติบโตอย่างรวดเร็วคือโปรแกรมสนับสนุนการค้าอิเล็กทรอนิกส์ที่ได้รับการพัฒนาขึ้นมามากมาย รวมถึงระบบเครือข่ายด้วยพอมาถึงประมาณปี พ.ศ. 2537 – 2542 ก็ถือได้ว่าระบบการค้าอิเล็กทรอนิกส์หรืออีคอมเมิร์ซก็เป็นที่ยอมรับได้รับความนิยมอย่างมากมีความรวดเร็วซึ่งวัดได้จากการที่มีบริษัทต่าง ๆ ในอเมริกาได้ให้ความสำคัญ และเข้าร่วมในระบบอีคอมเมิร์ซอย่างมากมาย
- จุดเด่นของ E-Commerce
ประหยัดค่าใช้จ่าย และเพิ่ม ประสิทธิภาพในการดำเนินธุรกิจ โดยลดความสำคัญขององค์ประกอบของธุรกิจที่มองเห็นจับต้องได้ เช่นอาคารที่ทำการ ห้องจัดแสดงสินค้า (show room) คลังสินค้า พนักงานขายและพนักงานให้บริการต้อนรับลูกค้า เป็นต้น ดังนั้นข้อจำกัดทางภูมิศาสตร์คือ ระยะทางและเวลาทำการแตกต่างกัน จึงไม่เป็นอุปสรรคต่อการทำธุรกิจอีกต่อไป
ประโยชน์ของพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ (E-Commerce)
ปัจจุบันจะเห็นได้ว่าพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ เป็นช่องทางการค้าที่น่าสนใจมาก เพราะนับวันก็ยิ่งมีผู้ใช้งานอินเตอร์เน็ตเพิ่มมากขึ้นเรื่อย ๆ ซึ่งส่งผลให้การค้าทางอินเตอร์เน็ตขยายตัวได้อย่าง รวดเร็ว และการทำธุรกิจบนเว็บไซต์นั้นสามารถใช้ประโยชน์จากเทคโนโลยีได้มากมายหลายประการ ได้แก่
1. ทำการค้าได้ตลอด 24 ชั่งโมง และขายสินค้าได้ทั่วโลก นักท่องอินเตอร์เน็ตจากทั่วทุกมุมโลก สามารถเข้ามาในเว็บไซต์ของบริษัทได้ตลอดเวลาผู้ขายสามารถนำเสนอสินค้าผลิตภัณฑ์ และบริการต่างๆ
2. ข้อมูลทันสมัยอยู่เสมอ และประหยัดค่าใช้จ่าย พาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ นั้นมีประโยชน์ที่สำคัญมากอีกประการหนึ่ง คือสามารถ เสนอข้อมูลที่ใหม่ล่าสุดให้กับลูกค้าได้ทันที
3. ง่ายต่อการชำระเงิน พาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์สามารถชำระเงินได้อย่างสะดวกสบายโดยวิธีการตัดผ่านบัตรเครดิตหรือการโอนเงินเข้าบัญชีซึ่งจะเป็นระบบอัตโนมัติ
- ข้อดีของพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์
1. ลดค่าใช้จ่าย การใช้ค่าใช้จ่ายในการทําเว็บไซต์นั้นมีต้นทุนที่ต่ำมากเมื่อเทียบ กับธุรกิจในระดับต่าง ๆ เว็บไซต์บางเว็บก็มีระบบการสร้างร้านค้าออนไลน์ให้ฟรีโดยเราสามารถ จัดการข้อมูลได้ด้วยตัวเองไม่ต้องจ้างพนักงานจํานวนมาก ไม่จําเป็นต้องสต๊อกสินค้าเองก็ได้และ ถ้าเว็บไซต์ของเราดูดี สวยงามและใช้งานได้ง่ายก็จะเป็นการเพิ่มความเชื่อถือให้กับผู้ประกอบการ ได้มากยิ่งขึ้น ดูข้อมูลการสร้างเว็บไซต์ คลิกรับออกแบบเว็บไซต์
2. สามารถบริการลูกค้าได้อาทิตย์ละ 7 วัน วันละ 24 ชั่วโมง ลูกค้าสามารถเข้ามา เลือกชมสินค้าได้ตลอดเวลา และสามารถสั่งซื้อสินค้าได้ทุกเวลาอีกด้วย
3. มีระบบชําระค่าสินค้า และบริการผ่านบัตรเครดิตลูกค้ามักสามารถตัดสินใจซื้อ ได้ทันที และถือเป็นความสะดวกสบายให้แก่ลูกค้า
4. จัดการข้อมูลลูกค้าสินค้าได้อย่างง่ายดาย เช่นการเพิ่ม การลดลง ของสินค้า ราคา เราสามารถกําหนดได้ทันที และสามารถทําได้ทุกที่ที่อินเทอร์เน็ตสามารถเข้าถึงได้
5. ร้านค้าออนไลน์ในปัจจุบันนั้นมีลูกเล่นเยอะมากมายไม่ว่าจะเป็นการแสดง ภาพเคลื่อนไหว เสียงประกอบ รวมถึงมีเว็บบอร์ดทําให้สามารถถามตอบปัญหาให้กับลูกค้าได้ และลูกค้าบางคนก็สามารถให้ความคิดเห็นที่เป็นประโยชน์แก่ลูกค้าใหม่ของเราได้
6. ชื่อร้านค้าหรือโดเมนของร้านค้าที่ดีจะสามารถเป็นที่จดจําให้แก่ลูกค้าได้มากกว่าเบอร์โทรศัพท์สามารถทําให้ลูกค้าติดต่อกับเราได้ง่าย
7. ระบบเว็บไซต์มีข้อมูลสถิติผู้เข้าชม และสามารถนํามาวิเคราะห์แผนการตลาดได้
8. สร้างภาพพจน์ให้กับธุรกิจทําให้ลูกค้าเห็นว่าเราเป็นองค์กรที่ทันสมัย
- ข้อเสียของพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์
1. ความไม่ปลอดภัยของข้อมูล ข้อมูลบนบัตรเครดิตอาจถูกดักฟังหรืออ่านเอาชื่อและหมายเลขบัตรเครดิตไปใช้โดยที่เจ้าของบัตรเครดิตไม่รู้ได้ การส่งข้อมูลจึงต้องมีการพัฒนาวิธีการเข้ารหัสที่ซับซ้อนหลายขั้นตอน เพื่อให้ข้อมูลของลูกค้าได้รับความปลอดภัยสูงสุด
2. ประเทศไทยยังไม่มีธนาคารที่จะแบกรับความเสี่ยงสําหรับการชําระเงินผ่านทาง อิเล็กทรอนิกส์และปัจจุบันก็ยังมีการใช้บริการผ่านธนาคารของต่างประเทศอยู่แต่ทุกวันนี้ก็เริ่มมี ธนาคารในเมืองไทยได้ให้ความสนใจในเรื่องนี้อยู่ไม่น้อยเหมือนกัน
3. E-Commerce ยังมีประเด็นเชิงนโยบายที่ทําให้รัฐบาลต้องเข้ามากําหนด มาตรการเพื่อให้ความคุ้มครองกับผู้ซื้อและผู้ขายขณะเดียวกันมาตรการในเรื่องระเบียบที่จะ กําหนดขึ้นต้องไม่ขัดขวางการพัฒนาเทคโนโลยี
4. ผู้ซื้อไม่มั่นใจเรื่องการเก็บรักษาความลับทางธุรกิจ ข้อมูลส่วนบุคคลเช่น ไม่ มั่นใจว่าจะมีผู้นําหมายเลขบัตรเครดิตไปใช้ประโยชน์ในทางที่มิชอบหรือไม่
5. ผู้ขายไม่มั่นใจว่าลูกค้ามีตัวตนอยู่จริงจะเป็นบุคคลเดียวกับที่แจ้งสั่งซื้อสินค้า หรือไม่ มีความสามารถในการที่จะจ่ายสินค้าและบริการหรือไม่ และไม่มั่นใจว่าการทําสัญญาซื้อ ขายผ่านระบบ E-Commerce จะมีผลถูกต้องตามกฎหมายหรือไม่
7. E-commerce นั้นขึ้นอยู่กับการจัดการธุรกิจที่ดีด้วยเพราะการนําระบบนี้มาใช้ ไม่ควรทําตามกระแสนิยมและไม่สามารถให้บริการลูกค้าได้ก็เป็นการเสียผลประโยชน์หรือการเสีย ต้นทุนโดยไม่จําเป็น


ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น