วันอาทิตย์ที่ 30 กันยายน พ.ศ. 2561

บทเรียนที่ 1


ผลการค้นหารูปภาพสำหรับ สารสนเทศเพื่อการจัดการ
สืบค้นความหมายของระบบสารสนเทศเพื่อการจัดการ(Management  Information  System) และสรุปความหมายด้วยคำพูดของนักศึกษา และบอกคุณลักษณะที่ดีของระบบสารสนเทศเพื่อการจัดการ
·        ความหมายระบบสารสนเทศเพื่อการจัดการ  (Management  Information  System)
ระบบสารสนเทศเพื่อการจัดการ หมายถึง ระบบที่รวบรวมและจัดเก็บข้อมูลจากแหล่งข้อมูลต่าง ๆ ทั้งภายใน และภายนอกองค์การอย่างมีหลักเกณฑ์ เพื่อนำมาประมวลผลและจัดรูปแบบให้ได้สารสนเทศที่ช่วยสนับสนุนการทำงาน และการตัดสินใจในด้านต่าง ๆ ของผู้บริหาร เพื่อให้การดำเนินงานขององค์การเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ โดย MIS ประกอบด้วยหน้าที่หลัก 2 ประการ คือ
     1. สามารถเก็บรวบรวมข้อมูลจากแหล่งต่าง ๆ ทั้งจากภายใน และภายนอกองค์การมาไว้ด้วยกันอย่างเป็นระบบ
     2. สามารถทำการประมวลผลข้อมูลอย่างมีประสิทธิภาพ เพื่อให้ได้สารสนเทศที่ช่วยสนับสนุนการปฏิบัติงาน และการบริหารงานของผู้บริหาร
เทคโนโลยีสารสนเทศมีบทบาทสำคัญต่อการดำเนินงานทั้งระดับองค์การ และอุตสาหกรรม ธุรกิจต้องการระบบสารสนเทศที่มีประสิทธิภาพ เพื่อการดำรงอยู่และเจริญเติบโตขององค์กร และสามารถแข่งขันกับธุรกิจอื่นในระดับสากล เพื่อให้การทำงานมีเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ
·        สรุป
ระบบสารสนเทศเพื่อการจัดการ คือ ระบบที่ให้สารสนเทศที่ผู้บริหารต้องการเพื่อสามารถทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ โดยจะรวมทั้งสารสนเทศจากภายในและภายนอก รวมทั้งสิ่งที่คาดวาจะเป็นในอนาคต เพื่อให้ผู้บริหารสามารถตัดสินใจในการวางแผนการควบคุมและการปฏิบัติการของได้อย่างถูกต้องเพื่อดำเนินการอย่างมีประสิทธิภาพในด้านการตลาด
คุณลักษณะที่ดีและสำคัญของระบบสารสนเทศเพื่อการจัดการควรมีลักษณะที่สำคัญ ดังนี้
1. ระบบสารสนเทศเพื่อการจัดการถูกนำไปใช้การตัดสินใจของผู้บริหารทุกระดับ ช่วยให้ผู้บริหารสามารถเรียกค้นข้อมูลได้รวดเร็ว แต่ส่วนใหญ่จะเกี่ยวข้องกับปัญหาแบบมีโครงสร้าง (Structured Problems) เน้นการแก้ปัญหาที่เกิดกับงานประจำ
2.ระบบสารสนเทศเพื่อการจัดการเป็นระบบงาน ซึ่งผสมผสานข้อมูลจากหลาย ๆ แหลางหรือระบบย่อยหลาย ๆ ระบบที่มีความสัมพันธ์กันเพื่อจัดทำสารสนเทศเป็นภาพรวมที่สมบูรณ์ของทั้งระบบ
3. การพัฒนาระบบสารสนเทศ จะเริ่มจากความต้องการและความเห็นชอบของผู้บริหารเพื่อจัดเตรียมสารสนเทศให้แก่ผู้บริหารช่วยในการตัดสินใจและบรรลุจุดมุ่งหมายโดยรวมองค์กร
4. ระบบสารสนเทศเพื่อการจัดการจะใช้เทคโนโลยีคอมพิวเตอร์เข้ามาช่วย เนื่องจากข้อมูลในองค์กรหนึ่ง ๆ มีเป็นจำนวนมากและมีความสลับซับซ้อน คอมพิวเตอร์จึงถูกนำมาใช้เพื่อสร้างระบบสารสนเทศเพื่อการจัดการให้แก่ผู้บริหาร ใช้ในการตัดสินใจได้ในเวลาอันรวดเร็วและเหมาะสม
5. สารสนเทศนั้นจะถือว่าเป็นทรัพยากรที่สำคัญอีกอย่างหนึ่งเช่นเดียวกับพนักงาน เครื่องจักร เงินทุนและวัตถุดิบ จุดมุ่งหมายของระบบสารสนเทศเพื่อการจัดการคือจัดทำสารสนเทศที่เป็นประโยชน์แก่องค์กรเพื่อใช้ควบคุม การทำงานและการจัดการขององค์กร                                                                                                                                                                         
6. ทำการจัดเก็บข้อมูลสร้างเป็นฐานข้อมูลเก็บไว้ ซึ่งฐานข้อมูลนี้เป็นการรวบรวมข้อมูลให้เป็นหนึ่งเดียว วัตถุประสงค์คือต้องการจะหลีกเลี่ยงความซับซ้อนของการเก็บข้อมูล
7. การมีส่วนร่วมของผู้ใช้ระบบสารสนเทศเพื่อการจัดการจะไม่ประสบความสำเร็จถ้าปราศจากจากความร่วมมือและความพอใจของผู้ใช้งานถึงแม้ว่ามีระบบที่ดีเพียงใดก็ตามถ้าผู้ใช้งานเกิดความรู้สึกต่อต้านและคาดว่าระบบสารสนเทศเพื่อการจัดการจะมาแย่งงานของตนไป

เหตุใดผู้บริหารจึงควรศึกษาเรื่องของระบบสารสนเทศ และบอกประโยชน์ที่ผู้บริหารจะได้รับจากระบบสารสนเทศเพื่อการจัดการ
·        ผู้บริหารจึงควรศึกษาเรื่องของระบบสารสนเทศ
ปัจจุบันเทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อการจัดการ ได้เข้ามามีบทบาทสำคัญต่อการดำรงชีวิตของมนุษย์ โดยเฉพาะการประกอบธุรกิจ ที่เปลี่ยนแปลงจากการดำเนินงานหน้าที่ทางธุรกิจ เมื่อเข้าสู่ยุคสารสนเทศที่การดำเนินธุรกิจมุ่งเน้นกระบวนการในการให้บริการแก่ลูกค้าที่มีความรวดเร็วและซับซ้อน ตลอดจนมีการแข่งขันที่รุนแรง เพราะฉะนั้น ระบบสารสนเทศและเทคโนโลยีสารสนเทศกลายมาเป็นส่วนหนึ่งที่สำคัญของความสำเร็จในธุรกิจและการจัดการองค์กร จึงมีการจัดตั้งสาขาด้านบริหารและการจัดการ นี่เป็นสาเหตุว่าทำไมต้องเรียนเกี่ยวกับระบบสารสนเทศไม่ว่าคุณจะเป็นผู้จัดการ ผู้ประกอบการ หรือนักธุรกิจมืออาชีพ ระบบสารสนเทศเป็นสิ่งที่สำคัญที่คุณจะต้องมีพื้นฐานความเข้าใจ เหมือนที่คุณเข้าใจสาขาวิชาอื่นที่เกี่ยวข้องกับธุรกิจ
·        ประโยชน์ของระบบสารสนเทศ 
ปัจจุบันเทคโนโลยีสารสนเทศได้รับความสนใจนำมาใช้งานในหลายลักษณะและเกือบทุกธุรกิจ โดยที่พัฒนาการของเทคโนโลยีสารสนเทศได้ส่งผลกระทบในวงกว้างไปทุกวงการทั้งภาคเอกชนและราชการ ระบบสารสนเทศช่วยสร้างประโยชน์ต่อการดำเนินงานขององค์กรได้ดังนี้
1. ช่วยให้ผู้ใช้สามารถเข้าถึงสารสนเทศที่ต้องการได้อย่างรวดเร็วและทันต่อ
เหตุการณ์เนื่องจากข้อมูลถูกจัดเก็บและบริหารอย่างเป็นระบบ ทำให้ผู้บริหารสามารถเข้าถึงข้อมูลได้อย่างรวดเร็วในรูปแบบที่เหมาะสมและสามารถนำข้อมูลมาใช้ประโยชน์ทันต่อความต้องการ
2. ช่วยในการกำหนดเป้าหมายกลยุทธ์และการวางแผนปฏิบัติการ โดยผู้บริหาร
สามารถนำข้อมูลที่ได้จากระบบสารสนเทศมาช่วยในการวางแผนและกำหนดเป้าหมายในการดำเนินงานเนื่องจากสารสนเทศถูกรวบรวมและจัดการอย่างเป็นระบบ ทำให้มีประวัติของข้อมูลอย่างต่อเนื่อง สามารถที่จะบ่งชี้แนวโน้มของการดำเนินงานว่าน่าจะเป็นไปในลักษณะใด
3. ช่วยในการตรวจสอบการดำเนินงาน เมื่อแผนงานถูกนำไปปฏิบัติในช่วงระยะเวลาหนึ่ง ผู้ควบคุมจะต้องตรวจสอบผลการดำเนินงานโดยนำข้อมูลบางส่วนมาประมวลผลเพื่อประกอบการประเมิน สารสนเทศที่ได้จะแสดงให้เห็นผลการดำเนินงานว่าสอดคล้องกับเป้าหมายที่ต้องการเพียงไร
4. ช่วยในการศึกษาและวิเคราะห์สาเหตูของปัญหา ผู้บริหารสามรถใช้ระบบสารสนเทศประกอบการศึกษาและการค้นหาสาเหตุ หรือข้อผิดพลาดที่เกิดขึ้นในการดำเนินงาน ถ้าการดำเนินงานไม่เป็นไปตามแผนที่วางไว้ โดยอาจจะเรียกข้อมูลเพิ่มเติมออกมาจากระบบ เพื่อให้ทราบว่าความผิดพลาดในการปฏิบัติงานเกิดขึ้นจากสาเหตุใด หรือจัดรูปแบบสารสนเทศในการวิเคราะห์ปัญหาใหม่
5. ช่วยให้ผู้ใช้สามารถวิเคราะห์ปัญหาหรืออุปสรรคที่เกิดขึ้น เพื่อหาวิธีควบคุม ปรับปรุงและแก้ไขปัญหา สารสนเทศที่ได้จากการประมวลผลจะช่วยให้ผู้บริหารวิเคราะห์ว่าการดำเนินงานในแต่ละทางเลือกจะช่วยแก้ไขหรือควบคุมปัญหาที่เกิดขึ้นได้อย่างไร ธุรกิจต้องทำอย่างไรเพื่อปรับเปลี่ยนหรือพัฒนาให้การดำเนินงานเป็นไปตามแผนงานหรือเป้าหมาย
6. ช่วยลดค่าใช้จ่าย ระบบสารสนเทศที่มีประสิทธิภาพช่วยให้ธุรกิจลดเวลา แรงงาน และค่าใช้จ่ายในการทำงานลง เนื่องจากระบบสารสนเทศสามารถรับภาระงานที่ต้องใช้แรงงานจำนวนมาก ตลอดจนช่วยลดขั้นตอนในการทำงาน ส่งผลให้ธุรกิจสามารถลดจำนวนคนและระยะเวลาในการประสานงานให้น้อยลง โดยผลงานที่ออกมาอาจเท่าหรือดีกว่าเดิม ซึ่งจะเป็นการเพิ่มประสิทธิภาพและศักยภาพในการแข่งขันของธุรกิจ (นายชาญณรงค์, 2555)

อธิบายส่วนประกอบของระบบสารสนเทศมีอะไรบ้าง แต่ละส่วนทำหน้าที่อะไร
·        ส่วนประกอบของระบบสารสนเทศเพื่อการจัดการ
เทคโนโลยีสารสนเทศมีบทบาทสำคัญต่อการดำเนินงานทั้งระดับองค์การและอุตสาหกรรม ธุรกิจต้องการระบบสารสนเทศที่มีประสิทธิภาพ เพื่อการดำรงอยู่และเจริญเติบโตขององค์การ โดยที่เทคโนโลยีสารสนเทศจะส่วนช่วยให้ธุรกิจประสบผลสำเร็จ และสามารถแข่งขันกับธุรกิจอื่นในระดับสากล เพื่อให้การทำงานมีเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ จึงต้องทำความเข้าใจถึงวิธีใช้งานและโครงสร้างของระบบสารสนเทศ สามารถสรุปส่วนประกอบของระบบสารสนเทศ ได้ 3 ส่วน คือ
1. เครื่องมือในการสร้างระบบสารสนเทศเพื่อการจัดการ หมายถึง ส่วนประกอบหรือโครงสร้างพื้นฐานที่รวมกันเข้าเป็น MIS และช่วยให้ระบบสารสนเทศดำเนินงานอย่างมีประสิทธิภาพ โดยจำแนกเครื่องมือในการสร้างระบบสารสนเทศไว้ 2 ส่วน คือ
  1.1 ฐานข้อมูล (Data Base) จัดเป็นหัวใจสำคัญของระบบ MIS เพราะว่าสารสนเทศที่มีคุณภาพจะมาจากข้อมูลที่ดี เชื่อถือได้ ทันสมัย และถูกจัดเก็บอย่างเป็นระบบ ซึ่งผู้ใช้สามารถเข้าถึงและใช้งานได้อย่างสะดวกและรวดเร็ว ดังนั้นฐานข้อมูลจึงเป็นส่วนประกอบสำคัญที่ช่วยให้ระบบสารสนเทสมีความสมบูรณ์ และปฏิบัติงานอย่างมีประสิทธิภาพ
  1.2 เครื่องมือ (Tools) เป็นเครื่องมือที่ใช้จัดเก็บและประมวลผลข้อมูล ปกติระบบสารสนเทศจะใช้เครื่องคอมพิวเตอร์เป็นอุปกรณ์หลักในการจัดการข้อมูลซึ่งจะประกอบด้วยส่วนสำคัญต่อไปนี้
                      1.2.1 อุปกรณ์ (Hardware) คือ ตัวเครื่องหรือส่วนประกอบของเครื่องคอมพิวเตอร์ รวมทั้งอุปกรณ์ ระบบเครือข่าย
                      1.2.2 ชุดคำสั่ง (Software) คือ ชุดคำสั่งที่ทำหน้าที่รวบรวม และจัดการ เก็บข้อมูลเพื่อใช้ในการ บริหารงาน หรือการตัดสินใจ
2. วิธีการหรือขั้นตอนการประมวลผล การที่จะได้ผลลัพธ์ตามที่ต้องการ จะต้องมีการจัดลำดับ วางแผนงานและวิธีการประมวลผลให้ถูกต้อง เพื่อให้ได้ข้อมูล หรือสารสนเทศที่ต้องการลักษณะที่สำคัญของการประมวลผลข้อมูลคือ
            2.1 ทำการประมวลผลข้อมูลทั่วไป
            2.2 ใช้ข้อมูลที่มีรายละเอียดมาก
            2.3 ระยะเวลาในการใช้ข้อมูลเป็นระยะสั้นส่วนมากใช้กับการปฏิบัติงานประจำวัน
           2.4 ระบบการทำงานของเครื่องคอมพิวเตอร์ที่ใช้มักเป็นระบบออนไลน์ (On-line Processing) ซึ่งเป็นวิธีการประมวลผลที่รับข้อมูลเข้าสู่เครื่องคอมพิวเตอร์ แล้วทำการประมวลผลทันที โดยไม่มีการเก็บรอหรือสะสมข้อมูลไว้ก่อน
3. มีการจัดเก็บข้อมูลและสารสนเทศเป็นฐานข้อมูล ซึ่งเป็นฐานข้อมูลนั้นเกิดจากความคิดที่ต้องการเก็บรวบรวมข้อมูลไว้ เพื่อเป็นศูนย์กลางของข้อมูลในการใช้ข้อมูลร่วมกันและช่วยลดความซ้ำซ้อนของข้อมูล
4. การแสดงผลลัพธ์ เมื่อข้อมูลได้ผ่านการประมวลผล ตามวิธีการแล้วจะได้ สารสนเทศ หรือMIS เกิดขึ้น อาจจะนำเสนอในรูป ตาราง กราฟ รูปภาพ หรือเสียง เพื่อให้การนำเสนอข้อมูลมีประสิทธิภาพ จะขึ้นอยู่กับลักษณะของข้อมูล และลักษณะของการนำไป ใช้งาน                                                                                                                                                                    
5. มีการจัดการเกี่ยวกับทรัพยากรข้อมูล เพื่อควบคุมการทำงานระบบ ให้ทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ ซึ่งเป็นปัจจัยพื้นฐานของความต้องการ ระบบสารสนเทศเพื่อการจัดการ สำหรับองค์กร ในการดำเนินงานขององค์กรต่าง ๆ นั้น สารสนเทศนับว่ามีบทบาทที่สำคัญต่อองค์กรมาก เพราะจะต้องแข่งขันให้ทันกับเวลา ตลอดจนเพิ่มประสิทธิภาพการดำเนินงานต่างๆจึงได้มีการพัฒนาระบบสารสนเทศเพื่อการจัดการด้วยเหตุผลดังต่อไปนี้
     5.1. การบริหารงานมีความซับซ้อนมากขึ้น เนื่องจากปริมาณงานเพิ่มขึ้น องค์กรขยายใหญ่ขึ้น ปัญหาภายในและภายนอกองค์กรมีมากขึ้น การเตรียมการขยายตัวขององค์กรในอนาคต เนื่องจากการขยายตัว ขององค์กรและภาวะเศรษฐกิจของประเทศ ระบบที่ออกแบบจะต้องรองรับการขยายตัวทั้งจำนวนพนักงาน และปริมาณงานขององค์กรที่เพิ่มขึ้น รวมทั้งซับซ้อนในการใช้เทคโนโลยีต่างๆ
        5.2. ความจำเป็นในเรื่องกรอบเวลา ปัจจุบันผู้บริหารต้องสามารถปฏิบัติงานในกรอบของเวลาที่สั้นลง เพื่อตอบสนองต่อการแข่งขันต่าง ๆ และการที่สังคมมีการใช้ระบบสื่อสารข้อมูลที่ทันสมัยเพิ่มมากขึ้น เป็นผลทำให้การแข่งขันในธุรกิจมีมากขึ้นตามลำดับ
         5.3. การพัฒนาทางเทคนิค คือ เครื่องมือต่าง ๆ เพื่อเป็นเครื่องช่วยในการตัดสินใจ เช่น ใช้เทคนิคทางคอมพิวเตอร์ช่วยวิเคราะห์ แยกแยะจัดสรรข้อมูลให้เป็นสารสนเทศเพื่อการตัดสินใจ ยิ่งในปัจจุบันมีความต้องการใช้ระบบสารสนเทศกันอย่างแพร่หลาย มีการนำเทคโนโลยีทางด้านการสื่อสารข้อมูลมาใช้ในการติดต่อทางด้านธุรกิจ เช่น การสั่งซื้อสินค้า ตลาดหุ้น การแลกเปลี่ยนข่าวสารข้อมูลกับต่างประเทศเป็นต้น
       5.4. การตระหนักถึงคุณค่าและความก้าวหน้าของเทคโนโลยีต่าง ๆ โดยเฉพาอย่างยิ่งเทคโนโลยีทางด้านคอมพิวเตอร์ ซึ่งมีขนาดเล็กลง ราคาถูกลง มีความสามารถมากขึ้น การใช้คอมพิวเตอร์จะแพร่หลาย อย่างรวดเร็ว ระบบสื่อสารมีความก้าวหน้ายิ่งขึ้นจึงเป็นผลที่จะทำให้องค์กรต่าง ๆ ต้องใช้เทคโนโลยีในการสร้างระบบสารสนเทศเพื่อการจัดการ

มุมมองของระบบสารสนเทศมีอะไรบ้าง ประกอบมุมมองในด้านใดบ้าง แต่ละด้านมีข้อพิจารณาอย่างไร
การใช้สารสนเทศให้เกิดประสิทธิภาพต้องการความเข้าใจในเรื่องของ โครงสร้างและการจัดการองค์กร และสามารถสร้างคุณค่าให้กับองค์กรหรือ แก้ปัญหาเกี่ยวกับการจัดการการตัดสินใจได้ ซึ่งเกิดขึ้นจากสภาพแวดล้อม และการเปลี่ยนแปลงอยู่ตลอดเวลา
 Organizations องค์กร หมายถึงโครงสร้างทีประกอบด้วยระดับต่างๆหลายระดับ โดยมีลักษณะจําเพาะ มีการแบ่งโครงสร้างออก เป็นหลายฝ่ ายตามหน้าทีของบุคคล
• Management การจัดการ คือ สถานการณ์ทีองค์กรต้องเผชิญและทําการตัดสินใจมีการสร้างแผนการเพือนํามาแก้ ไขภายในองค์กร เป็นการตัดสินใจของผู้บริหาร โดยมีการสร้างกลยุทธ์ต่างๆ การจัดสรรทรัพยากรบุคคล การเงิน เข้ามาช่วย เหลือให้ประสบความสําเร็จ 
• Information technology (IT) โครงสร้างพื้นฐานที่ถูกสร้างขึ้นมาเพื่อเป็นโครงสร้างของสารสนเทศที่จะนํามาใช้งานได้
• Computer hardware ฮาร์ดแวร์ อุปกรณ์ทีสามารถจับต้องได้ ที่จะคอยสั่งการให้ซอฟต์แวร์ทํางาน ขึ้นอยู่กับขนาดของฮาร์ดแวร์ รูปร่าง ซึ่งจะรวมถึงส่วนประกอบต่างๆ เข้าด้วยกัน
• Computer software ชุดคําสั่งที่ทําหน้าที่ควบคุมการเชื่อมต่อ สื่อสารกันระหว่างฮาร์ดแวร์ต่างๆในระบบสารสนเทศ
• Data management technology หน่วยงานทีจัดการข้อมูล มีการนําข้อมูลมาใช้ ให้เกิดประโยชน์ ในองค์กร
• Networking and telecommunications technology การสื่อสารโดยใช้คอมพิวเตอร์กับเน็ตเพื่อสื่อสาร เชื่อมต่อกันได้ ทั้งทางใกล้และทา

5). ที่กล่าวว่าการศึกษาเกี่ยวกับระบบสารสนเทศเพื่อการจัดการมีเนื้อหาที่กว้างกว่าการศึกษาวิชาคอมพิวเตอร์โดยตรง โดยมีเนื้อหาครอบคลุมถึงแนวทางเทคนิค และแนวทางพฤติกรรมศาสตร์ท่านเห็นด้วยหรือไม่ เพราะเหตุใด
การศึกษาเกี่ยวกับระบบสารสนเทศเพื่อการจัดการมีเนื้อ หาที่กว้างกว่าการศึกษาวิชาคอมพิวเตอร์โดยตรง โดยมีเนื้อหาครอบคลุมถึงแนวทางทางเทคนิค (Technical Approach) และแนวทางทางพฤติกรรมศาสตร์ (Behavioral Approach)” จากบทความข้างต้น มีความเห็นชอบว่า ทั้งหมดทั้งมวลมีความเกี่ยวข้องกัน เนื่องจากระบบสารสนเทศเพื่อการจัดการมีเนื้อหาที่คลอบคลุมไปถึงแนวทางทางเทคนิคและแนวทางพฤติกรรมศาสตร์ของมนุษย์ เนื่องจากการจัดการระบบสารสนเทศนั้นจะต้องมีเทคนิคในการบริหารองค์กร หรือที่เรียกว่า เทคโนโลยี เพื่อแก้ไขปัญหาหรือช่วยในเรื่องของการตัดสินใจ เพราะปัจจุบันองค์กรไม่สามารถบริหารงานได้โดยอาศัยแต่เฉพาะประสบการณ์ แต่จำต้องอาศัยเทคโนโลยีที่ก้าวหน้าตามยุคสมัยเพื่อช่วยแก้ไขความผิดพลาดที่อาจเกิดขึ้นในอนาคตอีกด้วย ทั้งนี้การที่บุคคลภายในองค์กรจะปฏิบัติงานร่วมกันได้จะต้องอาศัยความรู้ทางพฤติกรรมศาสตร์เพื่อทำความเข้าใจซึ่งกันและกัน และนำไปสู่การบรรลุเป้าหมายที่ถูกกำหนดไว้ได้อย่างสำเร็จ 

ประเภทของระบบสารสนเทศแบ่งตามระดับการจัดการ ประกอบด้วยอะไรบ้างแต่ละระบบทำหน้าที่อะไร บ้าง และอธิบายความสัมพันธ์ระหว่างระบบต่างๆ
1. ระบบสารสนเทศแบบประมวลรายการ (TPS: Transaction Processing Systems) เป็นระบบสารสนเทศที่เกี่ยวกับการบันทึกและประมวลข้อมูลที่เกิดจาก ธุรกรรมหรือการปฏิบัติงานประจำหรืองานขั้นพื้นฐานขององค์การ เช่น การซื้อขายสินค้า การบันทึกจำนวนวัสดุคงคลัง เมื่อใดก็ตามที่มีการทำธุรกรรมหรือปฏิบัติงานในลักษณะดังกล่าวข้อมูลที่เกี่ยวข้องจะเกิดขึ้นทันที เช่น ทุกครั้งที่มีการขายสินค้า ข้อมูลที่เกิดขึ้นก็คือ ชื่อลูกค้า ประเภทของลูกค้า จำนวนและราคาของสินค้าที่ขายไป รวมทั้งวิธีการชำระเงินของลูกค้า
2. ระบบสารสนเทศเพื่อการจัดการ (MIS: Management Information System) คือระบบที่ให้สารสนเทศ ที่ผู้บริหารต้องการ เพื่อให้สามารทำงาน ได้อย่างมีประสิทธิภาพ โดยจะรวมทั้งสารสนเทศภายในและภายนอกสารสนเทศที่เกี่ยวพันกับองค์กรทั้งในอดีตและปัจจุบัน นอกจากนี้ระบบนี้จะต้องให้สารสนเทศในช่วงเวลาที่เป็นประโยชน์ เพื่อให้ผู้บริหารสามารถตัดสินใจในการวางแผนการควบคุม และการปฏิบัติการขององค์กรได้อย่าง ถูกต้อง แม้ว่าผู้บริหารที่จะได้รับประโยชน์จากระบบนี้สูงสุดคือผู้บริหารระดับกลาง แต่โดยพื้นฐานของระบบนี้แล้วจะเป็นระบบที่สามารถสนับสนุนข้อมูลให้ผู้บริหารทั้งสาม ระดับ คือทั้งผู้บริหารระดับต้น ผู้บริหารระดับกลางและผู้บริหารระดับสูง โดยระบบนี้จะให้รายงานที่สรุปสารสนเทศซึ่งรวบรวมจากฐานข้อมูลทั้งหมดของบริษัท
3. ระบบสนับสนุนการตัดสินใจ (Decision Support Systems: DSS) เป็น ระบบสารสนเทศที่นำข้อมูลจากฐานข้อมูลต่างๆ มาใช้ในการตัดสินใจ และจะช่วยสนับสนุนการแก้ปัญหาและตัดสินใจเฉพาะกรณีตามที่ผู้บริหารต้องการ เป็นการเน้นการตัดสินใจอย่างมีประสิทธิภาพ
4. ระบบสารสนเทศสำหรับผู้บริหารระดับสูง (Executive Information Systems: EIS หรือ Executive Support Systems: ESS) เป็นระบบสารสนเทศที่ช่วยสนับสนุนการวิเคราะห์ปัญหา ศึกษาแนวโน้ม และการวางแผนกลยุทธ์ ผู้บริหารสามารถเข้าถึงสารสนเทศโดยกำหนดมุมมองได้ในรูปแบบต่างๆ จึงเป็นระบบที่มีความยืดหยุ่นและคล่องตัวสูง และรวดเร็วต่อความต้องการ ใช้งานได้ง่าย EIS สามารถเข้าถึงสามาสนเทศจากฐานข้อมูลภายในและภายนอกองค์การและจะนำเสนอ สารสนเทศที่ได้จากการวิเคราะห์ในรูปของรายงาน ตาราง และกราฟ เพื่อการสรุปสารสนเทศให้ผู้บริหารได้เข้าใจง่ายและประหยัดเวลา
5. ปัญญาประดิษฐ์ (Artificial Intelligence: AI) และระบบผู้เชี่ยวชาญ (Expert Systems: ES) ปัญญาประดิษฐ์เป็นความพยายามที่จะพัฒนาระบบคอมพิวเตอร์ (ทั้งฮาร์ดแวร์และซอฟต์แวร์) ให้สามารถปฏิบัติงานเหมือนกับมนุษย์หรือเลียนแบบ การทำงานของมนุษย์ AI มีหลายสาขา เช่น การประมวลผลภาษาธรรมชาติ (Natural Language Processing)
6. ระบบสารสนเทศสำนักงาน (Office Information Systems: OIS) หรือ ระบบสำนักงานอัตโนมัติ (Office Automation Systems: OAS) เป็นระบบสารสนเทศที่นำเทคโนโลยีมาประยุกต์ใช้เพื่อช่วยเพิ่มประสิทธิภาพใน การทำงานของผู้ปฏิบัติงานและผู้บริหาร แบ่งได้เป็น 5 ประเภท คือ ระบบจัดการเอกสาร ระบบการจัดการข่าวสาร ระบบการทำงานร่วมกัน /ประชุมทางไกล ระบบการประมวลภาพ และระบบการจัดการสำนักงาน

กระบวนการทางธุรกิจคืออะไร และยกตัวอย่างกระบวนการทางธุรกิจในด้านต่างๆ (เช่นด้านการผลิต การขาย การเงิน การบัญชื และบุคคล)
·        ความหมายกระบวนการทางธุรกิจ
การจัดการกระบวนการทางธุรกิจ (อังกฤษ: Business Process Management - BPM) คือ การจัดการกระบวนการทางธุรกิจ ซึ่งระบบปัจจุบันเป็นระบบที่แยกออกจากกันเป็น Silo การที่จะใช้งานร่วมกันค่อนข้างยากจึงมีแนวคิดในการ Integrate และปรับปรุงกระบวนการทำงานทางธุรกิจ เพื่อให้สามารถเชื่อมโยงและทำงานกันได้อย่างมีประสิทธิภาพและนำกลับมาใช้ใหม่ได้ จึงต้องทำการจัดการกระบวนการทางธุรกิจ (BPM) ซึ่งเกิดแนวคิดในการ share service กันเพื่อให้แต่ละ Business สามารถใช้งาน service ที่ต้องการรวมกันได้ SOA จึงเป็นแนวคิดที่นำมาประยุกต์ใช้งานเพื่อการปรับเปลี่ยนโครงสร้างแบบ Silo มาเป็น SOA ซึ่ง Technology ที่มาตอบโจทย์ในการ Implement แนวคิดนี้คือ Web Service เนื่องจากไม่ขึ้นกับ Platform และสะดวกในการเรียกใช้งาน (Service)
·        สรุปคือกระบวนการทางธุรกิจนั้นจะเป็นขบวนการต่างๆ หรือขั้นตอนในทุกๆ ขั้นตอนในการดำเนินธุรกิจ ผลกำไร ที่จะเกิดขึ้นมากหรือน้อยขึ้นอยู่กับธุรกิจนั้นๆ โดยทั่วๆ ไปการดำเนินธุรกิจจะมีอยู่ 3 ประเภทคือ
1. กิจการให้บริการ (Service Firm) กิจการให้บริการจะมีรายได้หลัก คือ ค่าธรรมเนียมค่าบริการรับ รายจ่ายหลัก คือ เงินเดือนพนักงาน ค่าวัสดุสิ้นเปลือง ค่าเช่า ค่าสาธารณูปโภค และอื่นๆ รายจ่ายในกิจการให้บริการถือว่าเป็นค่าใช้จ่ายในการดำเนินงาน ปัญหาที่เกิดขึ้นในกิจการให้บริการคือการวัดผลการดำเนินงาน ลักษณะของผลิตภัณฑ์จะไม่เห็นเป็นตัวตนที่ชัดเจน ตัวอย่างของธุรกิจประเภทนี้ เช่น โรงพยาบาล สำนักงานกฎหมาย บริษัทที่ปรึกษา เป็นต้น
2. กิจการซื้อมาขายไป (Merchandising Firm) หมายถึง กิจการที่ซื้อขายสินค้าทั้งขายส่งและขายปลีกโดยไม่ใช่ผู้ผลิต รายได้หลักของกิจการ คือ เงินที่ขายสินค้าได้ ค่าใช้จ่ายจำแนกเป็น 2 ส่วน คือ ต้นทุนสินค้าขาย และค่าใช้จ่ายในการขายและบริหาร ตัวอย่างของธุรกิจประเภทนี้ เช่น ห้างสรรพสินค้า ร้านขายยา ร้านขายของชำ เป็นต้น
3. กิจการผลิต (Manufacturing Firm) กิจการผลิตส่วนใหญ่จะมีโรงงานสำหรับผลิตสินค้า รายได้หลัก คือ เงินที่ได้จากการขายสินค้า ค้าใช้จ่าย คือ ต้นทุนในการซื้อวัตถุดิบ ค่าจ้างคนงาน และค่าใช้จ่ายในขบวนการผลิต ค่าใช้จ่ายทั้งสามส่วนนี้จะรวมเป็นต้นทุนสินค้า ส่วนค่าใช้จ่ายที่เกิดขึ้นในสำนักงานจะถือเป็นค่าใช้จ่ายในการขาย และบริหาร

ระบบสารสนเทศขององค์กรธุรกิจ ประกอบด้วยระบบอะไรบ้าง แต่ละระบบทำหน้าที่อะไร
·        ระบบสารสนเทศทางธุรกิจ(Business Information System)
ระบบสารสนเทศทางธุรกิจ (Business Information System) เป็นระบบสารสนเทศที่ถูกพัฒนาขึ้น เพื่อสนับสนุนให้การดำเนินงานของธุรกิจให้ดำเนินการอย่างเป็นระบบ โดยถูกออกแบบและพัฒนาให้ปฏิบัติงานตามหน้าที่ทางธุรกิจ ตลอดจนช่วยส่งเสริมให้ทั้งองค์การสามารถประสานงานและใช้ข้อมูลร่วมกันอย่างมีประสิทธิภาพทั้งในระดับปฏิบัติงานและระดับบริหาร โดยสามารถจำแนกระบบสารสนเทศตามหน้าที่ทางธุรกิจ ตามหน้าที่ดังต่อไปนี้
1. ระบบสารสนเทศด้านการบัญชี (Accounting Information System) หรือเรียกว่า AIS จะเป็นระบบที่รวบรวม จัดระบบ และนำเสนอสารสนเทศทางการบัญชีที่ช่วยในการตัดสินใจแก่ผู้ใช้สารสนเทศทั้งภายในและภายนอกองค์การ โดยระบบสารสนเทศทางบัญชีจะให้ความสำคัญกับสารสนเทศที่สามารถวัดค่าได้ หรือการประมวลผลเชิงปริมาณมากว่าการแก้ปัญหาเชิงคุณภาพ ระบบสารสนเทศทางด้านการบัญชีจะประกอบด้วย 2 ส่วนคือ
1.1 ระบบบัญชีทางการเงิน (Financial Accounting System) จะเป็นการบันทึกรายการค้าที่เกิดขึ้นในรูปตัวเงิน จัดหมวดหมู่รายการต่าง ๆ สรุปผลและตีความหมายในงบการเงิน ได้แก่ งบกำไรขาดทุน งบดุล และงบกระแสเงินสด โดยมีวัตถุประสงค์หลัก คือ นำเสนอสารสนเทศแก้ผู้ใช้และผู้ที่สนในข้อมูลทางการเงินขององค์การ เช่น นักลงทุน และเจ้าหนี้
1.2.ระบบบัญชีผู้บริหาร (Managerial Accounting System) เป็นการนำเสนอข้อมูลทางการเงินแก่ผู้บริหาร เพื่อใช้ในการตัดสินใจทางธุรกิจ ระบบบัญชีจะประกอบด้วย บัญชีต้นทุน การงบประมาณ และการศึกษาระบบ
2. ระบบสารสนเทศด้านการเงิน (Financial Information System) ระบบสารสนเทศด้านการเงิน จะเกี่ยวกับสภาพคล่อง (Liquidity) ในการดำเนินงาน เกี่ยวข้องกับการจัดการเงินสดหมุนเวียน ถ้าธุรกิจขาดเงินทุนอาจก่อให้เกิดปัญหาขึ้นทั้งโดยตรงและอ้อม โดยที่การจัดการทางการเงินจะมีหน้าที่สำคัญ 3 ประการ ดังนี้
  2.1. การพยากรณ์ (Forecast) คือการศึกษาวิเคราะห์ การคาดการณ์ การกำหนดทางเลือก และการวางแผนทางด้านการเงินของธุรกิจ เพื่อใช้ทรัพยากรทางการเงินให้เกิดประโยชน์สูงสุด โดยนักการเงินสามารถใช้หลักการทางสถิติและแบบจำลองทางคณิตศาสตร์มาประยุกต์ การพยากรณ์ทางการเงินจะอาศัยข้อมูลทั้งภายในและภายนอกองค์การ ตลอดจนประสบการณ์ของผู้บริหารในการตัดสินใจ
  2.2. การจัดการด้านการเงิน (Financial Management) คือการบริหารเงินให้เกิดประโยชน์สูงสุด เช่น รายรับและรายจ่าย การหาแหล่งเงินทุนจากภายนอก เพื่อที่จะเพิ่มทุนขององค์การ โดยวิธีทางการเงิน เช่น การกู้ยืม การออกหุ้น หรือตราสารทางการเงิน
2.3. การควบคุมทางการเงิน (Financial Control) เป็นการติดตามผล ตรวจสอบ และประเมินความเหมาะสมในการดำเนินงานว่าเป็นไปตามแผนที่กำหนดหรือไม่ตลอดจนวางแนวทางแก้ไขหรือปรับปรุงให้การดำเนินงานทางการเงินของธุรกิจมีประสิทธิภาพ โดยที่การตรวจสอบและการควบคุมทางการเงินของธุรกิจจะจำแนกได้ 2 ประเภท คือ
- การควบคุมภายใน (Internal Control)
- การควบคุมภายนอก (External Control)  
- ระบบสารสนเทศด้านการตลาด (Marketing Information System)

การทำงานร่วมกันและเครือข่ายสังคมธุรกิจคืออะไร มีการจัดแบ่งกลุ่มของเทคโนโลยีที่นำมาใช้บ้าง และธุรกิจได้ประโยชน์อย่างไร 
 คำว่าเครือข่ายสังคมออนไลน์มีผู้ให้ความหมายไว้หลากหลาย แต่ในบทความนี้จะใช้ความหมายของ อดิเทพ บุตราช (2553) ซึ่งได้ให้นิยามคำว่าเครือข่าย สังคมออนไลน์ หมายถึง กลุ่มคนที่รวมกันเป็นสังคมและ มีการทำกิจกรรมร่วมกันบนเครือข่ายอินเทอร์เน็ต ซึ่ง อยู่ในรูปแบบของเว็บไซต์มีการแพร่ขยายออกไปเรื่อยๆ โดยใช้รูปแบบของการติดต่อสื่อสารผ่านเครือข่าย อินเทอร์เน็ต มีการสร้างเครือข่ายชุมชนเสมือนบน เครือข่ายคอมพิวเตอร์เพื่อใช้เป็นเครื่องมือสำคัญในการ ติดต่อสื่อสาร การทำกิจกรรมต่างๆ รวมทั้งการใช้ประโยชน์ ทางด้านการศึกษา ธุรกิจ และความบันเทิง คนในสังคม ปัจจุบันส่วนใหญ่จะใช้ชีวิตอยู่กับสังคมออนไลน์เพิ่ม มากขึ้น มีการใช้เครือข่ายสังคมออนไลน์เพื่อบอกเล่า เรื่องราว ประสบการณ์ รูปภาพ และวิดีโอ ที่ผู้ใช้จัดทำขึ้นเอง หรือพบเจอจากสื่อต่างๆ แล้วนำมาแบ่งปันให้ กับเพื่อนและผู้อื่นที่อยู่ในเครือข่ายของตนได้ทราบผ่าน ทางเว็บไซต์ของเครือข่ายสังคมออนไลน์ นอกจากนั้น เว็บไซต์ที่ให้บริการเครือข่ายสังคมออนไลน์ยังสามารถ แบ่งออกเป็น 4 กลุ่ม (สุภาภรณ์ เพชรสุภา, 2554) ได้แก่
1. กลุ่มเว็บไซต์เผยแพร่ “ตัวตน” เป็นเว็บไซต์ที่มีลักษณะใช้นำเสนอตัวตน และเผยแพร่เรื่องราวของ ตนเองผ่านทางอินเทอร์เน็ต หรือผู้ใช้สามารถเขียน Blog สร้างอัลบั้มรูปของตัวเอง สร้างกลุ่มเพื่อนในห้องเรียน และสร้างเครือข่ายเพื่อการเรียนรู้ขึ้นมาได้ ตัวอย่าง เว็บไซต์ประเภทนี้คือ myspace.com, hi5.com และ facebook.com เป็นต้น 
2. กลุ่มเว็บไซต์เผยแพร่ “ผลงาน” อาจจะเป็นผลงานของกลุ่มหรือผลงานของตัวเอง โดย สามารถนำเสนอในรูปแบบต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นวีดีโอ รูปภาพ หรือเสียงอาจารย์สอนที่ได้จากการบันทึกในชั้นเรียน เป็นต้น ตัวอย่างเว็บไซต์ประเภทนี้เช่น YouTube.com, Yahoo VDO, Google VDO, Flickr.com, Multiply.com เป็นต้น 
3. กลุ่มเว็บไซต์ที่มีความสนใจเกี่ยวกับ เรื่องเดียวกัน อาจเป็นลักษณะ Online Bookmarking หรือ Social Bookmarking โดยมีแนวคิดที่ว่า แทนที่ เราจะทำ Bookmark เว็บไซต์ที่เราชอบ หรือบทความ รายงานที่เกี่ยวข้องกับการเรียน เก็บไว้ในเครื่องของเรา คนเดียว เราก็สามารถทำ Bookmark เก็บไว้บนเว็บไซต์ แทน เพื่อเป็นการแบ่งให้เพื่อนๆ คนอื่นเข้ามาดูได้ด้วย และเราก็สามารถดูได้ว่าเว็บไซต์ใดที่ได้รับความนิยมมาก หรือเป็นที่น่าสนใจ โดยดูจากจำนวนตัวเลขที่เว็บไซต์ นั้นถูก Bookmark เอาไว้จากสมาชิกคนอื่นๆ ตัวอย่าง เว็บไซต์นี้ ได้แก่ Delicious, Digg, Zickr, Duocore.tv เป็นต้น 
4. กลุ่มเว็บไซต์ที่ใช้สำหรับการทำงานร่วมกัน เป็นกลุ่ม การทำงานเครือข่ายสังคมออนไลน์ ที่เปิด โอกาสให้สมาชิกทุกคนในกลุ่มสามารถเข้ามานำเสนอ ข้อมูล ความคิดหรือต่อยอด เรื่องราวต่างๆ ได้ ตัวอย่าง เว็บไซต์นี้ ได้แก่ WikiPedia ซึ่งเป็นสารานุกรมต่อยอด ที่อนุญาตให้ใครก็ได้เข้ามาช่วยกันเขียน และแก้ไข บทความต่างๆ ได้ตลอดเวลา ทำให้เกิดเป็นสารานุกรม ออนไลน์ขนาดใหญ่ที่รวบรวมความรู้ ข่าวสาร และ เหตุการณ์ต่างๆ ไว้มากมาย จากที่กล่าวมาทั้งหมด จะเห็นได้เว็บไซต์ที่ให้บริการเครือข่ายสังคมออนไลน์ มีการพัฒนาขึ้นมาอย่างต่อเนื่องเพื่อประโยชน์ใน การใช้งานในด้านต่างๆและสามารถแลกเปลี่ยนความรู้ ร่วมกันได้อย่างสะดวกรวดเร็วมากยิ่งขึ้น
5. ในขณะนี้ Facebook จัดเป็นเว็บไซต์เครือข่าย สังคมออนไลน์ที่ได้รับความนิยมมากที่สุดในโลกและมีรายงานผลตัวเลขที่น่าสนใจเกี่ยวกับ Facebook พบว่า ผู้ที่ใช้งาน Facebook มากกว่า 50% ไม่ได้เป็นนักศึกษา กลุ่มอายุที่มีการใช้งานที่เติบโตรวดเร็วมากที่สุดคือ กลุ่ม คนอายุ 30 ปีขึ้นไป เฉลี่ยเวลาในการใช้งาน 20 นาที ต่อครั้ง มีผู้ใช้งานมากกว่า 15 ล้านคนที่อัพเดทสถานะ อย่างน้อยวันละหนึ่งครั้ง และในแต่ละเดือนมีการอัพโหลด คลิปวิดีโอมากกว่า 5 ล้านคลิปวิดีโอ (ตัวเลขน่าสนใจจาก Facebook, 2554) ซึ่งจากสถิติที่กล่าวมาแสดงให้เห็นถึง พฤติกรรมการใช้เครือข่ายสังคมออนไลน์ของคนในสังคม ปัจจุบันที่เพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง และเริ่มเข้ามามีบทบาท หรือเป็นส่วนหนึ่งในชีวิตของคนวัยทำงานที่ใช้เครือข่าย อินเทอร์เน็ต โดยเฉพาะในปัจจุบันสามารถใช้งาน ผ่านโทรศัพท์มือถือได้ จึงทำให้สถิติการใช้เครือข่าย สังคมออนไลน์เพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว
6. ดังนั้นในการศึกษาเรื่องพฤติกรรมการใช้ เครือข่ายสังคมออนไลน์ จึงสามารถกล่าวได้ว่า เครือข่าย สังคมออนไลน์ เข้ามามีบทบาทในชีวิตประจำวันของ คนในทุกระดับ ทุกเพศและทุกวัย นอกจากนั้นการใช้ เครือข่ายสังคมออนไลน์ยังมีผลกระทบในหลายๆ ด้าน บทความนี้จึงมีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาลักษณะการใช้เครือข่ายสังคมออนไลน์ ปัจจัยที่ส่งผลให้เกิดพฤติกรรม การใช้เครือข่ายสังคมออนไลน์ และผลกระทบจากการใช้ เครือข่ายสังคมออนไลน์ของคนในสังคมปัจจุบัน

·        ประโยชน์ของ Social networks เครือข่ายสังคมออนไลน์
1. สามารถแลกเปลี่ยนข้อมูลความรู้ในสิ่งที่สนใจร่วมกันได้
2. เป็นคลังข้อมูลความรู้ขนาดย่อมเพราะเราสามารถเสนอและแสดงความคิดเห็น แลกเปลี่ยนความรู้ หรือตั้งคาถามในเรื่องต่างๆ เพื่อให้บุคคลอื่นที่สนใจหรือมีคาตอบได้ช่วยกันตอบ
3. ประหยัดค่าใช้จ่ายในการติดต่อสื่อสารกับคนอื่น สะดวกและรวดเร็ว
4.เป็นสื่อในการนำเสนอผลงานของตัวเอง เช่น งานเขียน รูปภาพ วีดิโอต่างๆ เพื่อให้ผู้อื่นได้เข้ามารับชมและแสดงความคิดเห็น
5. ใช้เป็นสื่อในการโฆษณา ประชาสัมพันธ์ หรือบริการลูกค้าสาหรับบริษัทและองค์กรต่างๆ ช่วยสร้างความเชื่อมั่นให้ลูกค้า
6. ช่วยสร้างผลงานและรายได้ให้แก่ผู้ใช้งาน เกิดการจ้างงานแบบใหม่ๆ ขึ้น
7. คลายเครียดได้สำหรับผู้ใช้ที่ต้องการหาเพื่อนคุยเล่นสนุก
8. สร้างความสัมพันธ์ที่ดีจากเพื่อนสู่เพื่อนได้






1 ความคิดเห็น: