วันศุกร์ที่ 14 กันยายน พ.ศ. 2561

เปรียบเทียบความแตกต่าง TPS,MIS,DSS,EIS



นางสาวนัทธมน   กองอุนนท์ รหัสนักศึกษา  58127328009
นางสาวสัณห์สินี  แซ่ตัง       รหัสนักศึกษา  58127328042
นางสาวชนิภรณ์   อินทร์ขำ   รหัสนักศึกษา  58127328045  
นายสัญชัย         บุญชูงาม   รหัสนักศึกษา  58127328052  
นางสาวฐานิต      อรุมชูตี    รหัสนักศึกษา  58127328075  
นายศิวนาถ         พุทธสิมา   รหัสนักศึกษา  58127328068

เปรียบเทียบความแตกต่าง TPS,MIS,DSS,EIS

TPS สารสนเทศของหน่วยงานย่อย (Departmental information system)
     หมายถึงระบบสารสนเทศที่ออกมาเพื่อใช้สำหรับหน่วยงานใดหน่วยงานหนึ่งขององค์การ โดยแต่ละหน่วยงานอาจมีโปรแกรมประยุกต์ใช้งานใดงานหนึ่งของตนโดยเฉพาะ เช่น ฝ่ายบุคลากรอาจจะมีโปรแกรมสำหรับการคัดเลือกบุคคลหรือติดตามผลการโยกย้ายงานของเจ้าหน้าที่ในหน่วยงาน โดยโปรแกรมทั้งหมดที่เกี่ยวข้องของฝ่ายบุคลากรจะมีชื่อว่าระบบสารสนเทศด้านทรัพยากรมนุษย์ (Human resources information systems) ระบบประมวลผลรายการ หมายถึง ระบบสารสนเทศที่ใช้ในการเปลี่ยนข้อมูลดิบจากการปฏิบัติงานให้อยู่ในรูปแบบที่เครื่องจักรสามารถอ่านได้, เก็บรายละเอียดรายการ, ประมวลผลรายการและสั่งพิมพ์รายละเอียดรายการ ออกมาได้ รายการ (Transaction) คือ การกระทำพื้นฐานที่เกิดขึ้นระหว่างการดำเนินการทางธุรกิจ เช่น การขายสินค้า การจองตั๋วเครื่องบิน การซื้อสินค้าผ่านเครดิตการ์ดและการสอบถามข้อมูลเกี่ยวกับสินค้าคงคลัง จัดเป็นรายการทั้งสิ้น ระบบประมวลผลรายการนิยมใช้ในการประมวลผลบัญชี, การขาย, หรือประมวลผลข้อมูลสินค้าคงคลัง เนื่องจากข้อมูลเหล่านี้เป็นที่ต้องการของระบบสารสนเทศอื่นๆในองค์ก
            ในการดำเนินการของระบบประมวลผลรายการ ข้อมูลถูกนำเข้าไปยังคอมพิวเตอร์ของระบบสารสนเทศ โดยใช้แป้นพิมพ์หรืออุปกรณ์อื่นๆ ข้อมูลจะถูกเก็บอยู่ในคอมพิวเตอร์จนกระทั่งพร้อมที่จะถูกประมวลผล หลังจากที่ข้อมูลถูกป้อนเข้าไปแล้ว จะเกิดการประมวลผลเพื่อเปลี่ยนข้อมูลเป็นสารสนเทศที่มีประโยชน์ในการจัดการ โดยระบบประมวลผลรายการจะทำการบันทึกรายการลงในฐานข้อมูลและผลิตเอกสารที่เกี่ยวข้องกับรายการนั้นออกมา อาจอยู่ในรูปแบบของรายงาน, ตาราง, กราฟ,ภาพเคลื่อนไหว และเสียงฯลฯ ขึ้นอยู่กับความต้องการของผู้ใช้สารสนเทศนั้นๆ

MIS ระบบสารสนเทศเพื่อการจัดการ (Management Information Systems)
     ระบบ MIS จะสนับสนุนการทำงานของระบบประมวลผลและการจัดเก็บข้อมูลรายวัน จะใช้ฐานข้อมูลที่ถูกรวมเข้าด้วยกัน และสนับสนุนการทำงานของ ฝ่ายต่างๆในองค์กร จะช่วยให้ผู้บริหารระดับต้น ระดับกลาง และระดับสูง เรียกใช้ข้อมูลที่เป็นโครงสร้างได้ตามเวลาที่ต้องการ จะมีความยืดหยุ่น และสามารถรองรับความต้องการข้อมูลที่ เปลี่ยนแปลงไปขององค์กร ต้องมีระบบรักษาความลับของข้อมูล และสามารถจำกัดการใช้งานเฉพาะของบุคคลที่เกี่ยวข้องได้ช่วยในการขยายขอบเขตความรู้ ความเข้าใจ เรื่องระบบสารสนเทศเพิ่มเติม จากการเรียนปริญญาตรี โดยหลักสูตรนี้เน้นให้ผู้เรียนมีความรู้ทางด้านการบริหารและความรู้ทางด้านไอที และสามารถประยุกต์ความรู้ทางด้านไอทีเพื่อใช้ในการบริหารได้ เช่น การให้ข้อมูลสารสนเทศ แก่ผู้บริหารได้รวดเร็วและมีประสิทธิภาพ โดยการใช้ระบบไอทีเข้ามาช่วยในการจัดเก็บข้อมูล การประมวลผล และการออกรายงานตามความต้องการของผู้บริหาร ได้รวดเร็ว ตรงตามที่ผู้บริหารต้องการ
            แนวอาชีพสำหรับผู้สำเร็จการศึกษา MIS  จะเป็นตำแหน่งงานที่เกี่ยวข้องกับไอที อาจเป็นในหน่วยงานคอมพิวเตอร์สารสนเทศ หน่วยงานวางแผนสารสนเทศ และหน่วยงานที่ทำหน้าที่สนับสนุนผู้บริหารในด้านสารสนเทศหรือไอทีเพื่อประกอบการตัดสินใจ นักวิเคราะห์และออกแบบระบบสารสนเทศ และนักบริหารที่มีความรู้ความเข้าใจทางด้านไอที
            การมาเรียนรู้วิชาต่าง ๆ ในหลักสตูร MIS จึงเป็นการเตรียมตัวให้พร้อมที่จะใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ ในรูปแบบใหม่ ที่ก้าวหน้า ตามสังคมโลก นอกจากนี้ยังเป็นการเตรียมพื้นที่สำหรับก้าวเดินไปสู่อนาคตที่มั่นคงและรุ่งเรืองอย่างแน่นอน

 
DSS ระบบสารสนเทศเพื่อสนับสนุนการตัดสินใจ (Decision Support Systems-DSS)
     ระบบสารสนเทศแบบ DSS เป็นระบบสารสนเทศที่ช่วยในการตัดสินใจ ซึ่งมีลักษณะมีโครงสร้างไม่ชัดเจน โดยนำข้อมูลมาจากหลายแหล่งช่วยในการนำเสนอและมีลักษณะยืดหยุ่นตามความต้องการ
ลักษณะของ DSS
            1) ระบบสารสนเทศที่ใช้สำหรับการสนับสนุนผู้ตัดสินใจทางการบริหารทั้งที่เป็นตัวบุคคลหรือกลุ่ม โดยการตัดสินใจนั้นจะเกี่ยวข้องกับสถานการณ์ที่มีลักษณะเป็นแบบ ไม่มีโครงสร้าง (unstructured situations) โดยจะมีการนำวิจารณญาณของมนุษย์กับข้อมูล จากคอมพิวเตอร์มาใช้ประกอบในการตัดสินใจ
            2) ระบบ DSS ช่วยในการตอบสนองความต้องการที่ไม่ได้คาดการณ์มาก่อนโดยผู้ใช้สามารถปรับข้อมูลใน DSS ได้ตลอดเวลาเพื่อจัดการกับเงื่อนไขต่างๆ ที่เปลี่ยนแปลงไป โดยใช้การวิเคราะห์ที่เรียกว่า Sensitivity Analysis
            3) ช่วยในการตัดสินใจที่ต้องการความรวดเร็วสูง เพื่อใช้ประกอบในการกำหนดกลยุทธ์ในการแข่งขัน ดังนั้น DSS จึงมีลักษณะการโต้ตอบได้ (interactive)
            4) เสนอทางวิเคราะห์ในทางเลือกต่างๆ ในสถานการณ์ที่มีความซับซ้อน
            5) จัดการเก็บข้อมูลซึ่งมาจากหลายแหล่งได้ ทั้งภายในและภายนอกหน่วยงาน
            6) นำเสนอได้ทั้งรายงานที่เป็นข้อความและกราฟฟิค

EIS ระบบสารสนเทศของทั้งองค์การ (Enterprise information systems)
            สามารถจะเรียกมาดู หรือใช้ได้สะดวกระบบข่าวสารเพื่อการบริหารชั้นสูง (EIS) เป็นระบบข่าวสารที่มีความสำคัญต่อผู้บริหารองค์กรในเรื่องการพิจารณากำหนดนโยบาย วางแผนกลยุทธ์ขององค์กร ให้สามารถจัดการองค์กร ให้สามารถดำเนินการบรรลุเป้าหมายหรือแข่งขันกับองค์กรอื่น ๆ ได้อย่างมีประสิทธิภาพ
            การจัดทำระบบข่าวสารเพื่อการบริหารชั้นสูง มิอาจจัดทำโดยเอกเทศได้โดยลำพัง จะต้องรอผลการพัฒนาระบบข้อมูล-ข่าวสารขั้นต้นอื่นๆ ขึ้นก่อน ข้อมูลที่ได้จากการปฏิบัติงานในระบบ TPS, MIS และ/หรือ DSS จะเป็นรากฐานที่สามารถนำมาสรุปประมวลผลกับข้อมูลภายนอก (ถ้าจำเป็น)  เพื่อประกอบการตัดสินใจ บ่อยครั้งการพัฒนาระบบ EIS จากวิธีการข้างต้น มิอาจได้ข้อมูลภายในองค์กรอย่างครบถ้วนการเข้าสู่วงจรการพัฒนาระบบงาน (System Development Life Cycle) เพื่อพัฒนาระบบข่าวสารจึงเป็นวิธีการพื้นฐานที่ต้องกระทำ หลายๆ องค์กรไม่ต้องการประสบปัญหาขั้นต้น การจัดทำแผนแม่บทสารสนเทศ เพื่อกำหนดกรอบของระบบงานสารสนเทศหลัก ระบบย่อย และความต้องการข้อมูลของแต่ละประเภทของระบบข่าวสาร (TPS, MIS, DSS, EIS) ไว้อย่างครบถ้วน ในขั้นต้นนั้นกำหนดความจำเป็นเร่งด่วนจะช่วยในการพิจารณาคัดเลือกระบบงานที่จะพัฒนาก่อนหลังต่อไปได้อย่างมีระบบ
            ในบทความต่อไป จะประกอบด้วยเนื้อหาที่เกี่ยวข้องและจำเป็นต่อการพัฒนาระบบข่าวสารเพื่อการบริหารชั้นสูง ดังต่อไปนี้
          - ความรู้ทั่วไปเกี่ยวกับระบบข่าวสารเพื่อการบริหารชั้นสูง
          - ภาระหน้าที่ของผู้บริหารระดับสูงและระบบข่าวสารที่ต้องการ
          - ความจำเป็นข้อมูลข่าวสารที่มีต่อการบริหาร
          - วิธีการระบุข่าวสารที่จำเป็น
          - การจัดโครงสร้างสารสนเทศที่ต้องการ
          - การอนุมัติความเห็นชอบโครงการ
          - การจัดเตรียมบุคลากรโครงการ
          - การพัฒนาระบบข่าวสารเพื่อการบริหารชั้นสูง
          - การเลือกระบุฮาร์ดแวร์ ซอฟต์แวร์ ของโครงการ
          - การจัดการ การต่อต้านโครงการ
          - การจัดการติดตั้งใช้งานระบบข่าวสารเพื่อการบริหารชั้นสูง

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น