วันพุธที่ 26 กันยายน พ.ศ. 2561

บทเรียนที่ 3.3

องค์ประกอบหลักของเครือข่ายโทรคมนาคม

ระบบโทรคมนาคม (Telecommunications Systems) คือระบบที่ประกอบด้วยฮาร์ดแวร์และซอฟท์แวร์จำนวนหนึ่งที่สามารถทำงานร่วมกันและถูกจัดไว้สำหรับการสื่อสารข้อมูลจากสถานที่แห่งหนึ่งไปยังสถานที่อีกแห่งหนึ่ง    ซึ่งสามารถถ่ายทอดข้อความ  ภาพกราฟฟิก เสียงสนทนา และวิดีทัศน์ได้   มีรายละเอียดของโครงสร้างส่วนประกอบดังนี้
            1. เครื่องคอมพิวเตอร์หรือเครื่องมือเปลี่ยนปริมาณใดให้เป็นไฟฟ้า (Transducer) เช่น โทรศัพท์ หรือไมโครโฟน
            2. เครื่องเทอร์มินอลสำหรับการรับข้อมูลหรือแสดงผลข้อมูล  เช่น เครื่องคอมพิวเตอร์หรือโทรศัพท์
            3. อุปกรณ์ประมวลผลการสื่อสาร (Transmitter) ทำหน้าที่แปรรูปสัญญาณไฟฟ้าให้เหมาะสมกับช่องสัญญาณ เช่น โมเด็ม (MODEM) มัลติเพล็กเซอร์ (multiplexer) แอมพลิไฟเออร์ (Amplifier) ดำเนินการได้ทั้งรับและส่งข้อมูล
            4. ช่องทางสื่อสาร (Transmission Channel) หมายถึงการเชื่อมต่อรูปแบบใดๆ เช่น สายโทรศัพท์  ใยแก้วนำแสง สายโคแอกเซียล  หรือแม้แต่การสื่อสารแบบไร้สาย
            5. ซอฟท์แวร์การสื่อสารซึ่งทำหน้าที่ควบคุมกิจกรรมการรับส่งข้อมูลและอำนวยความสะดวกในการสื่อสาร
ประเภทของระบบเครือข่าย
เครือข่ายคอมพิวเตอร์ ( computer network ) เป็นการเชื่อมต่อคอมพิวเตอร์และอุปกรณ์ต่อพ่วงเข้าด้วยกันเพื่อให้สามารถใช้ข้อมูลทรัพยากรร่วมกันได้ เครือข่ายคอมพิวเตอร์สามารถแบ่งออกเป็นประเภทตามพื้นที่ที่ครอบคลุมการใช้งานของเครือข่าย ดังนี้
1. เครือข่ายส่วนบุคคล หรือแพน ( Personal Area Network: PAN )
        เป็นเครือข่ายที่ใช้ส่วนบุคคล เช่น การเชื่อมต่อคอมพิวเตอร์กับโทรศัพท์มือถือ การเชื่อมต่อพีดีเอกับเครื่องคอมพิวเตอร์ซึ่งการเชื่อมต่อแบบนี้จะอยู่ในระยะใกล้ และมีการเชื่อมต่อแบบไร้สาย
2. เครือข่ายเฉพาะที่ หรือแลน ( Local Area Network: LAN )
        เป็นเครือข่ายที่ใช้ในการเชื่อมโยงคอมพิวเตอร์และอุปกรณ์ต่าง ๆ ที่อยู่ในพื้นที่เดียวกันหรือใกล้เคียงกัน เช่น ภายในบ้าน ภายในสำนักงาน และภายในอาคาร สำหรับการใช้งานภายในบ้านนั้นอาจเรียกเครือข่ายประเภทนี้ว่า เครือข่ายที่พักอาศัย ( home network ) โดยอาจเป็นการเชื่อมต่อเครื่องคอมพิวเตอร์ตั้งแต่ 2 เครื่อง หรือมากกว่า เครือข่ายแลนจัดได้ว่าเป็นเครือข่ายเฉพาะองค์กร การเชื่อมต่อเครือข่ายแลนสามารถสื่อสารข้อมูลได้อย่างรวดเร็วและเกิดประสิทธิภาพกับองค์กรมากที่สุด  เนื่องจากเครือข่ายแลนนี้จะทำหน้าที่เชื่อมประสานงานการทำงาน บริหารการจัดการทรัพยากรต่าง ๆ ได้ดีที่สุด
                3. เครือข่ายนครหลวง หรือแมน (Metropolitan Area Network: MAN)
        เป็นเครือข่ายที่ใช้เชื่อมโยงแลนที่อยู่ห่างไกลออกไป เช่น การเชื่อมต่อเครือข่ายระหว่างสำนักงานที่อาจอยู่คนละอาคารและมีระยะทางไกลกัน การเชื่อมต่อเครือข่ายชนิดนี้อาจใช้สายไฟเบอร์ออพติก หรือบางครั้งอาจใช้ไมโครเวฟเชื่อมต่อ เครือข่ายแบบนี้ใช้ในสถานศึกษามีชื่อเรียกอีกอย่างหนึ่งว่าเครือข่ายแคมปัส ( Campus Area Network: CAN )  ซึ่งถือว่าเป็นระบบเครือข่ายที่มีการเชื่อมต่อกันในระหว่างที่กว้างใหญ่ ครอบคลุมระยะทางเป็น 100 กิโลเมตร ที่มีการติดต่อกันในระยะที่ไกลกว่าระบบแลนและใกล้กว่าระบบแวน เป็นการติดต่อระหว่างเมือง
4. เครือข่ายวงกว้าง หรือแวน (Wide Area Network: WAN)
        เป็นการเชื่อมต่อเครือข่ายคอมพิวเตอร์ระยะไกล ซึ่งมีอยู่ทั่วโลกเข้าด้วยกัน โดยอุปกรณ์แปลงสัญญาณ เช่น โมเด็ม ช่วยในการติดต่อสื่อสารหรือสามารถนำเครือข่ายท้องถิ่นมาเชื่อมต่อกันเป็นเครือข่ายระยะไกล เช่น เครือข่ายอินเทอร์เน็ต เครือข่ายระบบธนาคารทั่วโลก หรือเครือข่ายของสายการบิน เป็นต้น
เทคโนโลยีอินเทอร์เน็ตทำงานอย่างไร และสนับสนุนธุรกิจ


                การทำงานของอินเทอร์เน็ต  เป็นการสื่อสารข้อมูลด้วยคอมพิวเตอร์จะมีโปรโตคอล (Protocol) ซึ่งเป็นระเบียบวิธีการสื่อสารที่เป็นมาตรฐานของการเชื่อมต่อกำหนดไว้ โปรโตคอลที่เป็นมาตรฐานสำหรับการเชื่อมต่ออินเทอร์เน็ต คือ TCP/IP (Transmission Control Protocol/Internet Protocol)
เครื่องคอมพิวเตอร์ทุกเครื่องที่เชื่อมต่อเข้ากับเครือข่ายอินเทอร์เน็ตจะต้องมีหมายเลขประจำเครื่อง ที่เรียกว่า IP Address เพื่อเอาไว้อ้างอิงหรือติดต่อกับเครื่องคอมพิวเตอร์อื่นๆ ในเครือข่าย ซึ่ง IP ในที่นี้ก็คือ Internet Protocol ตัวเดียวกับใน TCP/IP นั่นเอง IP address ถูกจัดเป็นตัวเลขชุดหนึ่งขนาด 32 บิต ใน 1 ชุดนี้จะมีตัวเลขถูกแบ่งออกเป็น 4 ส่วน ส่วนละ 8 บิตเท่าๆ กัน เวลาเขียนก็แปลงให้เป็นเลขฐานสิบก่อนเพื่อความง่ายแล้วเขียนโดยคั่นแต่ละส่วนด้วยจุด (.) ดังนั้นในตัวเลขแต่ละส่วนนี้จึงมีค่าได้ไม่เกิน 256 คือ ตั้งแต่ 0 จนถึง 255 เท่านั้น เช่น IP address ของเครื่องคอมพิวเตอร์ของสถาบันราชภัฎสวนดุสิต คือ 203.183.233.6 ซึ่ง IP Address ชุดนี้จะใช้เป็นที่อยู่เพื่อติดต่อกับเครื่องคอมพิวเตอร์อื่นๆ ในเครือข่ายการสนับสนุนของอินเทอร์เน็ตด้านธุรกิจ
- ค้นหาข้อมูลต่าง ๆ เพื่อช่วยในการตัดสินใจทางธุรกิจ
- สามารถซื้อขายสินค้า ผ่านระบบเครือข่ายอินเทอร์เน็ต
- ผู้ใช้ที่เป็นบริษัท หรือองค์กรต่าง ๆ ก็สามารถเปิดให้บริการ และสนับสนุนลูกค้าของตน ผ่านระบบเครือข่ายอินเทอร์เน็ตได้ เช่น การให้คำแนะนำ สอบถามปัญหาต่าง ๆ ให้แก่ลูกค้า แจกจ่ายตัวโปรแกรมทดลองใช้ (Shareware) หรือโปรแกรมแจกฟรี (Freeware) เป็นต้น
เทคโนโลยีและมาตรฐานที่สำคัญสำหรับระบบไร้สายคืออะไร เครือข่ายการสื่อสารและการเข้าถึงอินเทอร์เน็ต
                 ระบบเครือข่ายไร้สาย (Wireless LAN : WLAN) หมายถึง เทคโนโลยีที่ช่วยให้การติดต่อสื่อสารระหว่างเครื่องคอมพิวเตอร์ 2 เครื่อง หรือกลุ่มของเครื่องคอมพิวเตอร์สามารถสื่อสารกันได้ ร่วมถึงการติดต่อสื่อสารระหว่างเครื่องคอมพิวเตอร์กับอุปกรณ์เครือข่ายคอมพิวเตอร์ด้วยเช่นกัน โดยปราศจากการใช้สายสัญญาณในการเชื่อมต่อ แต่จะใช้คลื่นวิทยุเป็นช่องทางการสื่อสารแทน การรับส่งข้อมูลระหว่างกันจะผ่านอากาศ ทำให้ไม่ต้องเดินสายสัญญาณ และติดตั้งใช้งานได้สะดวกขึ้น
เครือข่ายการสื่อสาร 
                คอมพิวเตอร์หรืออุปกรณ์รับ - ส่งข้อมูล ที่ประกอบกันเป็นเครือข่าย มีการเชื่อมโยงกันในรูปแบบต่าง ๆ ตามความเหมาะสม เทคโนโลยีการออกแบบเชื่อมโยงนี้เรียกว่า "รูปร่างเครือข่าย" (Network Topology) เมื่อพิจารรณาต่อเชื่อมโยงถึงกันของอุปกรณ์สำนักงานซึ่งใช้งานที่ต่าง ๆ หากต้องการ เชื่อมต่อถึงกันโดยตรง จะต้องใช้สายเชื่อมโยงมาก อาจจะมีตั้งแต่ 2 สถานี ถึง 5สถานีขึ้นไป 
รูปร่างของเครือข่าย 
                1.แบบดาว (Star)  เป็นแบบการต่อสายเชื่อมโยง โดยการนำสถานีต่าง ๆ มาต่อร่วมกันกับหน่วยสลับสายกลาง การติดต่อ สื่อสารระหว่างสถานีจะกระทำได้ด้วยการติดต่อผ่านทางวงจรของหน่วยสลับสายกลาง การทำงานของหน่วยสลับสายกลาง จึงคล้ายกับศูนย์กลางของการติดต่อวงจรเชื่อมโยงระหว่างสถานีต่าง ๆ ที่ต้องการติดต่อกัน 
                2.แบบวงแหวน (Ring) เป็นแบบที่สถานีของเครือข่ายทุกสถานีจะต้องเชื่อมต่อกับเครื่องขยายสัญญาณของตนเอง โดยจะมีการ เชื่อมโยงเครื่องขยายสัญญาณของทุกสถานีเข้าด้วยกันเป็นวงแหวน เครื่องขยายสัญญาณเหล่านี้จะมีหน้าที่ในการรับรู้ข้อมูลจากเครื่องคอมพิวเตอร์ของตัวเองหรือจากเครื่องขยายสัญญาณตัวก่อนหน้าและส่งข้อมูลต่อไปยังเครื่องขยายสัญญาณตัวถัดไปเรื่อย ๆ เป็นวง หากข้อมูลที่ส่งเป็นของสถานีใด เครื่องขยายสัญญาณของสถานีนั้นก็รับและส่งให้กับสถานีนั้น เครื่องขยายสัญญาณจะต้องมีการตรวจสอบข้อมูลที่ได้รับว่าเป็นของ ตนเองหรือไมด้วย ถ้าใช่ก็รับไว้ ถ้าไม่ใช่ก็ส่งต่อไป 
                3.แบบบัสและต้นไม้(Bus , tree)  เป็นรูปแบบที่มีผู้นิยมใช้มากแบบหนึ่ง เพราะมีโครงสร้างไม่ยุ่งยากและไม่ต้องใช้เครื่องขยายสัญญาณหรืออุปกรณ์สลับสาย เหมือนแบบวงแหวนหรือแบบดาว สถานีต่าง ๆ จะเชื่อมต่อเข้าหาบัสโดยผ่านทางอุปกรณ์เชื่อมต่อที่เป็นฮาร์ดแวร์ การจัดส่งงข้อมูลบนบัสจึงสามารถทำให้การส่งข้อมูลไปถึงทุกสถานีได้ การจัดส่งวิธีนี้จึงต้องกำหนดวิธีการที่จะไม่ให้ทุกสถานีส่งข้อมูลพร้อมกัน เพราะจะทำให้ข้อมูลชนกัน โดยวิธีการที่ใช้อาจแบ่งช่วงเวลา หรือให้แต่ละสถานีใช้ความถี่สัญญาณที่แตกต่างกัน 
เปรียบเทียบ Wi-Fi และระบบเซลลูล่าร์ความเร็วสูงสำหรับการเข้าถึงอินเทอร์เน็ต อะไรคือข้อดีและข้อเสียของแต่ละคน




ข้อดีของ wifi
1.WI-FI ช่วยให้การใช้งานของเครือข่ายท้องถิ่น (​​LANS) มีราคาถูกลง นอกจากนี้ยังมีบริเวณที่ไม่สามารถวางสายเคเบิลได้ เช่น พื้นที่กลางแจ้งและอาคารประวัติศาสตร์ เราจะสามารถให้บริการ LAN แบบไร้สายได้
2.ผู้ผลิตสามารถสร้างอะแดปเตอร์เครือข่ายไร้สายในแล็ปท็อปได้ ส่วนใหญ่ราคาของชิปเซ็ต สำหรับ WI-FI ยังคงลดลงเรื่อยๆ ทำให้มีตัวเลือกที่เป็นเครือข่ายประหยัดรวมอยู่ในอุปกรณ์ ต่างๆได้มากขึ้น
3.หลายๆแบรนด์ในการแข่งขันที่แตกต่างกันของ AP กับตัวเชื่อมต่อเครื่องลูกข่ายสามารถประสานทำงานกันได้ดีในระดับพื้นฐานของการให้บริการ ผลิตภัณฑ์ทั้งหลายที่ “รองรับ WI-FI” ที่ออกโดย WI-FI ALLIANCE สามารถเข้ากันได้แบบย้อนหลัง ซึ่งแตกต่างจากโทรศัพท์มือถือ ที่อุปกรณ์ที่มีมาตรฐาน WI-FI ใดๆ สามารถที่จะทำงานร่วมกันได้ที่ใดๆก็ได้ในโลกนี้
4.การเข้ารหัสของวายฟายแบบ WI-FI PROTECTED ACCESS (WPA2) ถือได้ว่ามีความปลอดภัยโดยการใช้รหัสผ่านที่แข็งแกร่ง โพรโทคอลใหม่สำหรับคุณภาพของการให้บริการที่เรียกว่า WIRELESS MULTIMEDIA (WMM) ทำให้ WI-FI มีความเหมาะสมมากขึ้นสำหรับการใช้งานที่มี ความละเอียดอ่อนต่อเวลาแฝง(เช่นเสียงและวิดีโอ) กลไกการประหยัดพลังงานของ WMM ช่วยยืดอายุแบตเตอรี่
ข้อเสียของ wifi
1.การกำหนดคลื่นความถี่และข้อจำกัดในการดำเนินงานไม่สม่ำเสมอทั่วโลกเช่นที่ออสเตรเลียและยุโรปได้อนุญาตให้มีอีกสองแชนแนลเพิ่มเติมนอกเหนือจากที่ได้รับอนุญาตในสหรัฐอเมริกาสำหรับแถบความถึ่ 2.4 GHZ (แชนแนล 1 ถึง 13 เทียบกับ 1 ถึง 11 ) ในขณะที่ประเทศญี่ปุ่นมีมากขึ้นอีกหนึ่ง(1 ถึง 14)
2.สัญญาณ WI-FI กินพื้นที่ห้าแชนแนลในแถบความถี่ 2.4 GHZ ตามภาพประกอบ ตัวเลขของแชนแนลใดๆสองแชแนลที่แตกต่างกันห้าตัวเลขหรือมากกว่า เช่นแชนแนล 2 และ 7 จะใช้คลิ่นความถี่ที่ไม่ทับซ้อนกัน เพราะฉะนั้น ความเชื่อเดิมๆที่ว่า แชนแนลที่ 1, 6 , และ 11 เท่านั้นที่เป็นแชนแนลที่ไม่ทับซ้อนกันจึงไม่ถูกต้อง แชนแนลที่ 1 , 6, และ 11 เป็นกลุ่มของสามแชนแนลที่ไม่ทับซ้อนกันในทวีปอเมริกาเหนือและสหราชอาณาจักร ในยุโรปและญี่ปุ่นจะแนะนำให้ใช้ ช่อง 1, 5 , 9, และ 13 สำหรับ 802.11G และ 802.11N
3.ค่าการส่งพลังงานที่เรียกว่า EQUIVALENT ISOTROPICALLY RADIATED POWER ( EIRP ) ในสหภาพยุโรปจะถูกจำกัดที่ 20 DBM ( 100 MW )
4.ปัจจุบัน 802.11N ปรกติที่ ‘เร็วที่สุด’ จะใช้สเปกตรัมวิทยุ/แบนด์วิดธ์เป็นสองเท่า (40 MHZ) เมื่อเทียบกับ 802.11A หรือ 802.11G (20 MHZ) ซึ่งหมายความว่า จะมี เพียงหนึ่งเครือข่าย 802.11N เท่านั้นในแถบความถี่ 2.4 GHZ ณ สถานที่ที่กำหนด โดยไม่มีการรบกวนไปยัง/จากการจราจร WLAN อื่น ๆ นอกจากนี้ 802.11N ยังสามารถตั้งค่าการใช้แบนด์วิดธ์ที่ 20 MHZ เพียงเพื่อที่จะป้องกันการรบกวนในชุมชนหนาแน่น
เปรียบเทียบ Web 2.0 andWeb 3.0
Web2.0 ยุคแห่งการพัฒนาและการเชื่อมโยง
            ในยุคของ Web 2.0 ที่อุปกรณ์คอมพิวเตอร์และองค์ประกอบต่างๆ ที่ต้องใช้ในการเล่นอินเตอร์เน็ตมีราคาถูกลง มีการส่งเสริมและให้ความรู้เกี่ยวกับการใช้งานคอมพิวเตอร์เพิ่มมากขึ้น ทำให้จำนวนผู้ใช้งานอินเตอร์เน็ตเพิ่มมากขึ้นเป็นจำนวนทวีคูณเมื่อเทียบกับ ยุคแรกๆ ที่อินเตอร์เน็ตยังไม่มีบทบาทต่อชีวิตประจำวันมากนัก ซึ่งส่งผลให้ความต้องการในการใช้งานส่วนต่างๆ เพิ่มมากขึ้น จึงทำให้มีต้องมีการพัฒนาเว็บไซต์เพื่อให้ตอบสนองความต้องการและรอบรับการใช้ งานได้อย่างมีประสิทธิภาพ “Read – Write” เป็นการกล่าวถึงลักษณะของการแสดงเนื้อหาและการโต้ตอบกันระหว่างเจ้าของ เว็บไซต์กับผู้เข้าชมเว็บไซต์ในยุค Web 2.0 ซึ่งมีลักษณะเป็นการที่มีการแบ่งปันความรู้ แลกเปลี่ยนความคิดเห็นซึ่งกันและกัน มากกว่าที่จะเป็นเพียงการนำเสนอข้อมูลผ่านเว็บไซต์เพียงอย่างเดียว โดยผู้เข้าชมสามารถทำการแสดงความคิดเห็น หรือทำการสร้างเนื้อหา โดยไม่ต้องเป็นหนึ่งในทีมสร้างเนื้อหาหรือเจ้าของเว็บไซต์ได้
            ส่วน " web2.0 " เป็นคำที่ถูกนิยามขึ้นโดยบริษัทที่ทำเกี่ยวกับ Media ของอเมริกาที่มีชื่อว่า " O'Reilly Media " ในปีค.ศ.2004 ซึ่ง " web2.0 " นี้เป็นชื่อที่ใช้เรียกรวมๆ เกี่ยวกับการใช้งาน " internet " ที่มีการก้าวเข้ามาสู่ยุคที่ 2 ที่มีพื้นฐานการให้บริการเป็นหลัก และมีรูปแบบการใช้งาน " internet " ที่เปลี่ยนไปหรือกล่าวได้ว่าเป็นสังคม " network " ที่ผู้ใช้ " internet " มีส่วนรวมในการสร้างมันขึ้นมาซึ่งเป็นการสะท้อนความต้องภายในของผู้ใช้อย่างชัดเจน ซึ่ง " web2.0 " มีคุณลักษณะ " web2.0 application " และ " web2.0 website "
                Web 2.0 มี 4 คุณสมบัติที่กำหนด การโต้ตอบ, การควบคุมผู้ใช้แบบเรียลไทม์, การมีส่วนร่วมทางสังคม การแบ่งปัน) และผู้ใช้สร้างเนื้อหา เทคโนโลยีและบริการที่อยู่เบื้องหลังคุณลักษณะเหล่านี้ ได้แก่ cloud computing การรวมแอ็พพลิเคชัน ซอฟต์แวร์ บล็อก RSS วิกิและเครือข่ายทางสังคม cloud Computing, Stallware mashups and apps, blogs, RSS, wikis, and social networks.
Web3.0 ยุคของการพัฒนาเว็บไซต์
                เว็บ 3.0 เป็นแนวคิดที่ได้มาจากเว็บ 2.0 ที่เกิดขึ้นมากมาย ให้เว็บนั้นสามารถจัดการข้อมูลจำนวนมากได้โดยเอาข้อมูลต่างๆที่มีอยู่มาจัดให้อยู่ในรูปแบบ Metadata ที่หมายถึงข้อมูลที่สามารถบอกรายละเอียดได้ ทำให้ผู้เยี่ยมชมสามารถเข้าถึงเนื้อหาของเว็บได้ดีขึ้นนั้นเองสมัยก่อนคอมพิวเตอร์ไม่เข้าใจว่าแต่ละเว็บคืออะไร เวลาไปค้นหาข้อมูล (Search) ก็ไม่รู้ แต่เว็บ 3.0 จะเป็นการเติมและเพิ่มความหมายเข้าไปในเนื้อหาสาระที่คอมพิวเตอร์ไม่เข้าใจในตอนแรกให้เข้าใจมากขึ้น จนสามารถจะเข้าใจในสิ่งที่เราต้องการ ไม่ว่าจะเป็นการค้นหาด้วย text ธรรมดา การค้นหาภาพ (Image Search) รวมถึงความสามารถในการค้นหาข้อมูลที่เป็นข้อมูลต่อเนื่อง (Stream line) เช่นคลิป เพลง วีดีโอ ซึ่งเป็นความอัจฉริยะของเว็บยุค 3.0 และ การจะทำให้เว็บไซต์เข้าใจข้อมูลทุกๆ ชิ้นที่อยู่ใน"เวิลด์ ไซด์ เว็บ" (www – world wide web)
                ในอนาคตนี้ Web 3.0 กำลังจะมาซึ่งเกิดจากการที่มีข้อมูลเพิ่มขึ้นมากเรื่อยๆ เกิดจากที่ผู้พัฒนาเว็บไซต์และผู้ที่เยี่ยมชมเว็บเข้ามาเขียนบทความ เขียนอะไรเพิ่มเติม ดังนั้น Web 3.0 จะเข้ามาเพื่อจัดการข้อมูลที่มีปริมาณเพิ่มมากขึ้นนี้ โดยการใช้ Metadata ซึ่งเป็นการใช้บ่งบอกรายละเอียดของข้อมูล รูปแบบนี้ที่เราเห็นกันได้บ่อยๆ ก็คือ Tag นั่นเอง เมื่อมีการใช้ Tag เนื้อหาที่เกี่ยวข้องกับเว็บเราก็จะถูกดึงเข้ามา ดังนั้นจึงทำให้เราไม่จำเป็นต้องเพิ่มเติมเนื้อหาในเว็บมากจนเกินไป เนื่องจากตัวเว็บไซต์จะทำการประมวลผลและหาข้อมูลเนื้อหาที่เกี่ยวข้องมาให้ เอง เช่น เว็บไซต์ Apple จะมี Tag ที่เป็น Computer ipod Technology ฯลฯ เข้ามาเกี่ยวข้อง เพื่อที่ผู้เยี่ยมชมเว็บ Apple เกิดสนใจเรื่องอื่นๆที่เกี่ยวข้องก็สามารถจะอ่านต่อไปได้
                Web 3.0 มี 5 คุณสมบัติที่กำหนด
1) Semantic Web ปรับปรุงเทคโนโลยีเว็บเพื่อสร้าง, แชร์และเชื่อมต่อเนื้อหาผ่านทางการค้นหา และการวิเคราะห์ตามความสามารถในการเข้าใจความหมายของคำ, ไม่ใช่คำหลักหรือตัวเลข
2) Artificial Intelligence ปัญญาประดิษฐ์ผสมผสานความสามารถนี้กับการประมวลผลภาษาธรรมชาติใน Web 3.0, คอมพิวเตอร์ สามารถเข้าใจข้อมูลเช่นมนุษย์เพื่อให้ได้เร็วขึ้น
และผลลัพธ์ที่เกี่ยวข้องมากขึ้น
3) Graphics กราฟิก 3D การออกแบบสามมิติถูกใช้อย่างกว้างขวาง ในเว็บไซต์และบริการ
อดีต คู่มือพิพิธภัณฑ์เกมคอมพิวเตอร์อีคอมเมิร์ซบริบททางภูมิศาสตร์ ฯลฯ
4) Corunectivity ข้อมูลการเชื่อมต่อเชื่อมต่อกับข้อมูลเมตาแบบ seturntic มากขึ้น เป็นผลให้ประสบการณ์ของผู้ใช้วิวัฒนาการไปสู่อีกระดับหนึ่งของการเชื่อมต่อที่ใช้ประโยชน์จากข้อมูลทั้งหมดที่มีอยู่
5) Ubiquity Content สามารถเข้าถึงได้โดยแอพพลิเคชั่นหลาย ๆ แบบ, ทุกอุปกรณ์เชื่อมต่อกับเว็บบริการต่างๆ สามารถใช้งานได้ทุกที่

การค้นหาทางโซเชียลการค้นหาความหมายและการค้นหาบนอุปกรณ์เคลื่อนที่แตกต่างจากที่ใด การค้นหาข้อมูลบนเว็บโดยใช้เครื่องมือค้นหาทั่วไป
การสืบค้นข้อมูลบนอินเทอร์เน็ต
            ในโลกไซเบอร์สเปซมีข้อมูลมากมายมหาศาล การที่จะค้นหาข้อมูลจำนวนมากมายอย่างนี้เราไม่อาจจะคลิกเพื่อค้นหาข้อมูลพบได้ง่ายๆ  จำเป็นจะต้องอาศัยการค้นหาข้อมูลด้วยเครื่องมือค้นหาที่เรียกว่า Search Engine เข้ามาช่วยเพื่อความสะดวกและรวดเร็ว เว็บไซต์ที่ให้บริการค้นหาข้อมูลมีมากมายหลายที่ทั้งของคนไทยและ   ถ้าเราเปิดไปทีละหน้าจออาจจะต้องเสียเวลาในการค้นหา และอาจหาข้อมูลที่เราต้องการไม่พบ การที่เราจะค้นหาข้อมูลให้พบอย่างรวดเร็วจึงต้องพึ่งพา Search Engine Site ซึ่งจะทำหน้าที่รวบรวมรายชื่อเว็บไซต์ต่างๆ เอาไว้ โดยจัดแยกเป็นหมวดหมู่ ผู้ใช้งานเพียงแต่ทราบหัวข้อที่ต้องการค้นหาแล้วป้อน คำหรือข้อความของหัวข้อนั้นๆ ลงไปในช่องที่กำหนด คลิกปุ่มค้นหา เท่านั้น รอสักครู่ข้อมูลอย่างย่อๆ และรายชื่อเว็บไซต์ที่เกี่ยวข้องจะปรากฏให้เราเข้าไปศึกษาเพิ่มเติมได้ทันที
ความแตกต่างของก่อนค้นหาข้อมูล
วิธีในการค้นหาข้อมูลแบบ Index จะใช้คนเป็นผู้จัดรวบรวมและทำระบบฐานข้อมูลขึ้นมา ส่วนแบบ Search Engine นั้นระบบฐานข้อมูลของจะได้รับการจัดสร้างโดยใช้ Software ที่มีหน้าที่เกี่ยวกับงานทางด้านนี้โดยเฉพาะมาเป็นตัวควบคุมและจัดการซึ่ง Software นี้ชื่อเรียกว่า Spider ซึ่งการทำงานจะใช้วิธีการเชื่อมโยงไปตามเครือข่ายต่างๆ ที่เชื่อมโยงถึงกันอยู่เต็มไปหมดใน Internet เพื่อค้นหา Website ที่เกิดขึ้นมาใหม่ๆ รวมทั้งยังสามารถตรวจสอบหาความเปลี่ยนแปลงของ ข้อมูลใน WebSite เดิมที่มีอยู่ ว่าที่ใดถูกอัพเดตแล้วบ้าง จากนั้นก็จะนำเอาข้อมูลทั้งหมดที่สำรวจเข้ามา ได้เก็บใส่เข้าไปในฐานข้อมูลของตนโดยอัตโนมัติ ยกตัวอย่างเช่น Excite, Lycos Infoserch เป็นต้น การค้นหาด้วยวิธี Search Engine นั้น มักจะได้ผลลัพธ์ออกมากว้างๆ ชี้เฉพาะเจาะจงได้ยาก บางครั้งข้อมูลที่ค้นหามาได้อาจมีถึงเป็นร้อยเป็นพัน WebSite
กรณีศึกษาหน้า 307 เรื่องตรวจสอบพนักงานในเครือข่าย: ORGOOD ไม่แน่นอน
Case study เรื่อง MONITORING EMPLOYEES ON NETWORKS: UNETHICAL OR GOOD
1. ผู้จัดการควรตรวจสอบอีเมล์พนักงานและการใช้อินเทอร์เน็ตของพนักงานหรือไม่ เพราะเหตุใด
 ควร เพราะ ผู้จัดการสามารถตรวจสอบอีเมล์และการใช้งานอินเทอร์เน็ตของพนักงาน เนื่องจากการวิจัยพบว่าประมาณพนักงานที่มีบัญชี Facebook มักใช้งานในช่วงเวลาทำงาน นอกจากนี้โดยเฉลี่ยของพนักงานมักเรียกดูเว็บในที่ทำงาน และรับหรือส่งอีเมล์ส่วนบุคคลในที่ทำงานทั้งหมดนี้อาจก่อให้เกิดผลกระทบต่อบริษัท ซึ่งได้แก่ :
                1.สร้างปัญหาทางธุรกิจที่ร้ายแรง
                2.การหยุดชะงักการทำงานที่ได้รับผิดชอบ
                3.ผู้จัดการต้องกังวลเกี่ยวกับการสูญเสียเวลาและการทำงานของพนักงาน เมื่อพนักงานมุ่งเน้นเรื่องส่วนตัวมากกว่าธุรกิจของ บริษัท
                4.การใช้เวลาส่วนตัวมากเกินไปในที่ทำงานจะทำให้เสียรายได้
                5.พนักงานสามารถส่งอีเมล์บริษัท ที่เป็นความลับหรือไม่เหมาะสมให้กับบุคคลภายนอก

2. อธิบายนโยบายอีเมล์และการใช้เว็บที่มีประสิทธิภาพสำหรับคำตอบของบริษัท
อีเมล์และนโยบายการใช้เว็บที่มีประสิทธิภาพสามารถระบุขั้นตอนและความรับผิดชอบที่เฉพาะเจาะจงโดยระบุว่าผู้ใช้และหน่วยงานใดสามารถแบ่งปันข้อมูลที่สามารถแจกจ่ายข้อมูลและใครรับผิดชอบในการอัปเดตและรักษาข้อมูลได้ บริษัท สามารถใช้ซอฟต์แวร์จาก Spector Soft Corporation ซึ่งจะบันทึกการเยี่ยมชมเว็บไซต์ของพนักงานทุกคนใช้เวลาในแต่ละไซต์และส่งอีเมล์ทั้งหมด นอกจากนี้ บริษัท ยังสามารถใช้ซอฟต์แวร์การตรวจสอบอีเมล์เพื่อระบุข้อความและคำหลักบางประเภทภายในข้อความเพื่อการตรวจสอบต่อไปนโยบายการใช้งานของ บริษัท ซึ่งรวมถึงกฎพื้นฐานที่ชัดเจนซึ่งระบุตำแหน่งหรือระดับภายใต้สถานการณ์ที่พนักงานสามารถใช้สิ่งที่เป็นมิตรกับองค์กรอีเมล์การบล็อกหรือการท่องเว็บ

3. ผู้จัดการควรแจ้งให้พนักงานทราบถึงการตรวจสอบพฤติกรรมการใช้งานเว็บของพนักงานอยู่หรือไม่ หรือผู้จัดการควรตรวจสอบอย่างเป็นความลับเพราะเหตุใด
ผู้จัดการควรแจ้งให้พนักงานทราบว่ามีการตรวจสอบการใช้งานเว็บของตน นี้เป็นเพราะ:
                1.เพื่อหลีกเลี่ยงให้พนักงานทำเรื่องส่วนตัวในเวลาทำงาน
                2.ทำให้พนักงานสมาธิในระหว่างชั่วโมงการทำงาน 
                3.เพื่อปรับปรุงประสิทธิภาพของบริษัท
                4.การตรวจสอบอาจช่วยระบุรายชื่อผู้ใช้ที่ใช้งานเว็บนอกเหนือการทำงาน





ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น