วันศุกร์ที่ 28 กันยายน พ.ศ. 2561

บทเรียนที่ 3

ระบบคอมพิวเตอร์ ประกอบด้วยองค์ประกอบสำคัญ 5 ส่วนด้วยกัน คือ
ผลการค้นหารูปภาพสำหรับ ระบบคอมพิวเตอร์
1. ฮาร์ดแวร์ (Hardware) ฮาร์ดแวร์ หมายถึง อุปกรณ์ต่างๆ ที่ประกอบขึ้นเป็นคอมพิวเตอร์มีลักษณะเป็นโครงร่างสามารถมองเห็นด้วยตาและสัมผัสได้ เช่น จอภาพ คีย์บอร์ด เครื่องพิมพ์ เมาส์ เป็นต้น
2. ซอฟต์แวร์ (Software) ซอฟต์แวร์ หมายถึง โปรแกรม (Program) หรือชุดคำสั่งที่ควบคุมให้เครื่องคอมพิวเตอร์ทำงานให้ได้ผลลัพธ์ตามที่ต้องการ
3. ข้อมูล/สารสนเทศ (Data/Information) ข้อมูล/สารสนเทศ คือ ข้อมูลต่างๆ ที่นำมาให้คอมพิวเตอร์ทำการประมวลผล คำนวน หรือกระทำการอย่างใดอย่างหนึ่งให้ได้มาเป็นผลลัพธ์ที่ต้องการ
4. บุคลากร (Peopleware) บุคลากร คือ เจ้าหน้าที่ปฏิบัติงานต่างๆ และผู้ใช้เครื่องคอมพิวเตอร์ในหน่วยงานนั้นๆ บุคลากรด้านคอมพิวเตอร์นั้น มีความสำคัญมาก เพราะการใช้เครื่องคอมพิวเตอร์ทำงานต่างๆ นั้นจะต้องมีการจัดเตรียมเปลี่ยนระบบ จัดเตรียมโปรแกรมดำเนินงานต่างๆ หลายอย่าง ซึ่งไม่สามารถทำด้วยตนเองได้
5. กระบวนการทำงาน (Documentation/Procedure) เป็นขั้นตอนการทำงานเพื่อให้ได้ผลลัพธ์หรือสารสนเทศจากคอมพิวเตอร์ในการทำงานกับคอมพิวเตอร์จำเป็นที่จะต้องให้ผู้ใช้เข้าใจขั้นตอนการทำงาน
การทำงานของระบบคอมพิวเตอร์
·       การรับข้อมูล  รับข้อมูลจาก  อุปกรณ์รับข้อมูล  เช่น แป้นพิมพ์  เม้าส์  ไมโครโฟน  ในรูปแบบสัญญาณทางไฟฟ้า และ เปลี่ยนสัญญาณที่ได้เป็นรหัสข้อมูล
·       หน่วยประมวลผล   จะรับข้อมูลเข้าและทำการประมวลผลข้อมูล โดยวิธีการทางคณิตศาสตร์
·       หน่วยความจำหลัก  จะใช้เป็นหน่วยความจำแบบชั่วคราว โดยใช้เป็นที่พักข้อมูลในระหว่างการประมวลผล
·       หน่วยความจำรอง   จะใช้เป็นที่เก็บข้อมูลที่ได้จากการประมวลผล  สามารถเก็บข้อมูลเป็นรูปแบบถาวรได้
·       หน่วยแสดงผล  จะรับข้อมูลจากการประมวลผล ผ่านช่องทางส่งข้อมูลออก (Output Port) 





หน้าที่การทำงานของส่วนประกอบคอมพิวเตอร์ มีดั้งนี้
รูปภาพที่เกี่ยวข้อง
2.1 หน่วยประมวลผลกลาง และส่วนประกอบของหน่วยประมวลผลกลาง (Central Processing Unit – CPU) หรืออาจเรียกว่า ไมโครโปรเซสเซอร์ (Microprocessor) หรือชิป (Chip) เป็นหัวใจของคอมพิวเตอร์ ทำหน้าที่ในการคิดคำนวณ ประมวลผล และควบคุมการทำงานของอุปกรณ์อื่นในระบบ ลักษณะของซีพียูจะเป็นชิ้นส่วนขนาดเล็กมาก ภายในประกอบด้วยทรานซิสเตอร์ประกอบกันเป็นวงจรหลายล้านตัว ตัวอย่างเช่น ซีพียูรุ่นเพนเทียมจะมีทรานซิสเตอร์เล็กๆจำนวนมากถึง 3.1 ล้านตัว
ประกอบด้วยหน่วยสำคัญสองหน่วย คือ
หน่วยควบคุม (Control Unit) ทำหน้าที่ควบคุมการทำงานของเครื่องคอมพิวเตอร์ทั้งระบบ เปรียบเสมือนเป็นศูนย์กลางระบบประสาท ที่ทำหน้าที่ควบคุมการทำงานของส่วนประกอบต่างๆ ของเครื่องคอมพิวเตอร์ จะรับรู้คำสั่งต่างๆ ในรูปของคำสั่งภาษาเครื่องเท่านั้น
หน่วยคำนวณและตรรกะ (Arithmetic and Logic Unit) หรือที่เรียกสั้นๆว่า เอแอลยู (ALU)ทำหน้าที่ประมวลผลการคำนวณทางคณิตศาสตร์ ตลอดจนการเปรียบเทียบทางตรรกะทั้งหมดการทำงานในซีพียูมี รีจิสเตอร์ (Register) คอยทำหน้าที่เก็บและถ่ายทอดข้อมูลหรือคำสั่งที่ถูกนำเข้ามาปฏิบัติการภายในซีพียู รวมทั้งมี บัส (Bus) เป็นเส้นทางในการส่งผ่านสัญญาณไฟฟ้าของหน่วยต่างๆภายในระบบ
2.2 หน่วยความจำหลัก และประเภทหน่วยความจำหลัก
หน่วยความจำหลักเป็นหน่วยความจำที่ทำงานใกล้ชิดกับซีพียูโดยตรง ทำหน้าที่เก็บข้อมูลและโปรแกรมที่ซีพียูกำลังประมวลผลอยู่ในขณะนั้น ถ้าหากต้องการให้คอมพิวเตอร์ทำโปรแกรมใดจะต้องนำโปรแกรมมาเก็บไว้ในหน่วยความจำหลักนี้ หน่วยความจำหลักแบ่งเป็น2ประเภทใหญ่ๆ คือ รอม(ROW)และแรม(RAW)
·       รอม (Read only Memory:ROW) เป็นหน่วยความจำที่เก็บข้อมูลแบบถาวร(เปลี่ยนแปลงไม่ได้) ข้อมูลจะคงอยู่ตลอดไปแม้ในช่วงที่ปิดเครื่องไม่มีกระแสไฟฟ้ามาเลี้ยง ในเครื่องคอมพิวเตอร์จะใช้น่วยความจำนี้เป็นโปรแกรมที่ควบคุมการทำงานของเครื่อง ที่เรียกว่า รอมไบออส (Basic Input/Output System: BIOS)
·       แรม (Random Access Memory: RAM) โดยทั่วไปหากกล่าวถึงหน่วยความจำหลักของคอมพิวเตอร์มักจะนึกถึงหน่วยความจำประเภทแรมนี้ หน่วยความจำชนิดนี้เป็นหน่วยความจำที่ทำงานร่วมกับซีพียู ใช้พักข้อมูลชั่วคราว แต่ข้อมูลจะหายเมื่อมีการปิดเครื่อง
ผลการค้นหารูปภาพสำหรับ หน่วยเก็บข้อมูลสำรอง
2.3 หน่วยเก็บข้อมูลสำรอง และประเภทของหน่วยเก็บข้อมูลสำรอง
หน่วยเก็บข้อมูลสำรอง ( Secondary Storage Device ) การทำงานร่วมกับคอมพิวเตอร์นั้น เมื่อต้องการเก็บบันทึกข้อมูล หรือกลุ่มคำสั่งต่าง ๆ ไว้ใช้ในอนาคตจะไม่สามารถเก็บไว้ในหน่วยความจำหลักได้ เนื่องจากไม่มีพื้นที่เพียงพอ อีกทั้งข้อมูลที่เก็บจะหายไปเมื่อปิดเครื่อง หากต้องการเก็บข้อมูลที่มากขึ้นและเอาไว้ใช้ประโยชน์ในภายหลัง ก็จำเป็นต้องหาอุปกรณ์เก็บข้อมูลที่มีขนาดใหญ่ขึ้น เช่น หน่วยเก็บข้อมูลสำรอง หรือที่เรียกว่า secondary storage
2.3.1. สื่อเก็บข้อมูลแบบจานแม่เหล็ก ( Magnetic Disk device ) เป็นอุปกรณ์บันทึกข้อมูลประเภทที่ใช้งานเป็นลักษณะของจานบันทึก ( disk ) ซึ่งมีหลายประเภท ดังนี้
·       ฟล็อปปี้ดิสก์ ( Floppy disks ) สื่อเก็บบันทึกข้อมูลที่ได้รับความนิยมและใช้งานอย่างแพร่หลาย สามารถหาซื้อใช้ได้ตามร้านขายอุปกรณ์คอมพิวเตอร์ทั่วไป นิยมเรียกอีกชื่อหนึ่งว่า ดิสเก็ตต์ ( diskette ) หรือแผ่นดิสก์
·       ฮาร์ดดิสก์ ( Hard disks ) เป็นอุปกรณ์เก็บบันทึกข้อมูลที่มีโครงสร้างคล้ายกับดิสเก็ตต์ แต่จุข้อมูลมากกว่าและมีความเร็วในการเข้าถึงข้อมูลสูงกว่า
2.3.2. สื่อเก็บข้อมูลแสง ( Optical Storage Device ) เป็นสื่อเก็บข้อมูลสำรองที่ได้รับความนิยมมากในปัจจุบัน ซึ่งใช้หลักการทำงานของแสงเข้ามาช่วย การจัดเก็บข้อมูลจะคล้ายกับแผ่นจานแม่เหล็ก แต่ต่างกันที่การแบ่งวงของแทรคจะแบ่งเป็นลักษณะคล้ายรูปก้นหอยและเริ่มเก็บบันทึกข้อมูลจากส่วนด้านในออกมาด้านนอก และแบ่งส่วนย่อยของแทรคออกเป็นเซกเตอร์เช่นเดียวกันกับแผ่นจานแม่เหล็ก
·       CD (Compact Disc) เป็นสื่อเก็บข้อมูลด้วยแสงแบบแรกที่ไดรับความนิยมอย่างแพร่หลาย
·       DVD (Digital Versatile Disc/Digital Video Disc) ผลิตมาเพื่อตอบสนองกับงานเก็บข้อมูลความจุสูง เช่น เพลงหรืองานมัลติมีเดียเพื่อให้เกิดความสมจริงและคมชัดมากที่สุด การเก็บข้อมูลจะมีการแบ่งออกเป็นชั้น ๆ เรียกว่า เลเยอร์ (Layer ) และสามารถเก็บข้อมูลได้ทั้งสองด้าน (sides ) ความจุของ DVD จะมีมากกว่า CD หลายเท่าตัว โดยมีตั้งแต่ 4.7 GB - 17 GB
3. สื่อเก็บข้อมูลอื่น ๆ ( Other Storage Device )
·       อุปกรณ์หน่วนความจำแบบแฟรช ( Flash memory device ) ปัจจุบันนำมาใช้บันทึกแทนสื่อเก็บข้อมูลแบบดิสเก็ตต์มากขึ้น เพราะจุข้อมูลได้มากกว่า นิยมใช้กับเครื่องพีซีและคอมพิวเตอร์แบบพกพาทั่วไป มีชื่อเรียกแตกต่างกัน เช่น flash drive, thumb driveหรือ handy drive โดยสามารถต่อพ่วงเข้ากับเครื่องคอมพิวเตอร์และอ่านค่าข้อมูลนั้นได้โดยตรง


ผลการค้นหารูปภาพสำหรับ หน่วยรับข้อมูลเข้า
2.4 หน่วยรับข้อมูลเข้า และประเภทอุปกรณ์ของรับข้อมูลเข้าและหน่วยส่งออก (อินพุตเอาต์พุต) เป็นช่องทางหลักที่คอมพิวเตอร์ใช้ติดต่อกับผู้ใช้งานโดยจะมีอุปกรณ์อินพุตเอาต์พุตประกอบอยู่ อุปกรณ์อินพุตจะเปลี่ยนปริมาณต่างๆ ที่ผู้ใช้คอมพิวเตอร์เข้าใจไปเป็นรหัสที่คอมพิวเตอร์สามารถเข้าใจได้ ส่วนอุปกรณ์เอาต์พุตจะเปลี่ยนเป็นสัญญาณที่คอมพิวเตอร์เข้าใจให้อยู่ในรูปแบบที่มนุษย์เข้าใจได้
·       ปากกาอิเล็กทรอนิกส์ เป็นปากกาที่ออกแบบมาสำหรับเขียนข้อมูลลงบนเครื่องคอมพิวเตอร์ โดยจะใช้เขียนลงบนจอภาพพิเศษที่่ออกแบบมาพร้อมกับปากกานี้ โดยคอมพิวเตอร์สามารถรับรู้ความเคลื่อนไหวและทิศทางการเขียน
·       เม้าส์เป็นอุปกรณ์ที่สามารถใช้ชี้ตำแหน่งต่างๆบนจอภาพได้ ในสมัยก่อนการป้อนคำสั่งและข้อมูลให้กับคอมพิวเตอร์จะใช้เพียงคีย์บอร์ดเท่านั้น แต่พอมีการพัฒนาเชื่อมต่อกับผู้ใช้แบบกราฟิกหรือ GUI 
·        คีย์บอร์ดเป็นอุปกรณ์ป้อนข้อมูลหรือคำสั่งที่นิยมใช้งานกันมากที่สุด และเป็นอุปกร์อินพุตแบบดั้งเดิมที่ทำงานร่วมกับคอมพิวเตอร์มานาน โดยเฉพาะการพิมพ์ข้อมูล
·       สแกนเนอร์ เป็นอุปกรณ์ที่รับข้อมูลแบบเอกสารซึ่งเป็นข้อมูลแบบข้อความและรูปภาพแล้วเปลี่ยนเป็นข้อมูลดิจิตอลที่คอมพิวเตอร์สามารถเข้าใจ
·       อุปกรณ์รับเสียง หากอินพุตเป็นข้อมูลหรือคำสั่งต่างๆ จะใช้คีย์บอร์ดเป็นอุปกรณ์อินพุต แต่ถ้าหากเป็นเสียงจะตองใช้ไมโครโฟนหรืออุปกรณ์พิเศษในการรับข้อมูลประเภทเสียง โดยไมโครโฟนจะถูต่อเข้าทางการ์ดเสียงของเครื่องคอมพิวเตอร์ เมื่อมีการับนทึกเสียงเข้าไปจะได้ข้อมูลในรูปแบบของไฟล์เสียง สำหรับไฟล์ที่เป็นมาตรฐานจะมีนามสกุลเป็น .wav
·       กล้องดิจิตอล (digital camera) ถือว่าเป็นอุปกรณ์อินพุตประเภทหนึ่ง เนื่องจากสามารถใช้บันทึกภาพเป็นข้อมูลดิจิตอลเพื่อให้คอมพิวเตอรืนำไปประมวลผลได้ การทำงานของกล้อง(resolution) ซึ่งเป็นจำนวนจุดภาพ (pixel) 
·        เครื่องอ่านบาร์โค้ด (bar code reader) เป็นอุปกรณ์ที่ฉายแสงไปบนแถมสีดำ จากนั้นตรวจจับแสงที่สะท้อนกลับมา โดยแถมสีดำและขาวมีความกว้างแตกต่างกันจะแทนค่าข้อมูลดิจิตอลที่ต่างกัน
·       เครื่องอ่านบาร์โค้ด (bar code reader) เป็นอุปกรณ์ที่ฉายแสงไปบนแถมสีดำ จากนั้นตรวจจับแสงที่สะท้อนกลับมา โดยแถมสีดำและขาวมีความกว้างแตกต่างกันจะแทนค่าข้อมูลดิจิตอลที่ต่างกัน
ผลการค้นหารูปภาพสำหรับ หน่วยแสดงผล
2.5 หน่วยแสดงผล และประเภทอุปกรณ์ของหน่วยแสดงผล
  หมายถึง การแสดงผลออกมาให้ผู้ใช้ได้รับทราบในขณะนั้น แต่เมื่อเลิกการทำงานหรือเลิกใช้แล้วผลนั้นก็จะหายไป ไม่เหลือเป็นวัตถุให้เก็บได้ แต่ถ้าต้องการเก็บผลลัพธ์นั้นก็สามารถส่งถ่ายไปเก็บในรูปของข้อมูลในหน่วยเก็บข้อมูลสำรอง เพื่อให้สามารถใช้งานในภายหลัง หน่วยแสดงผลที่จัดอยู่ในกลุ่มนี้ คือ
2.5.1 หน่วยแสดงผลชั่วคราว หมายถึง การแสดงผลออกมาให้ผู้ใช้ได้รับทราบในขณะนั้น แต่เมื่อเลิกการทำงานหรือเลิกใช้แล้วผลนั้นก็จะหายไป ไม่เหลือเป็นวัตถุให้เก็บได้ แต่ถ้าต้องการเก็บผลลัพธ์นั้นก็สามารถส่งถ่ายไปเก็บในรูปของข้อมูลในหน่วยเก็บข้อมูลสำรอง เพื่อให้สามารถใช้งานในภายหลัง หน่วยแสดงผลที่จัดอยู่ในกลุ่มนี้ คือ
·       จอภาพ (Monitor) ใช้แสดงข้อมูลหรือผลลัพธ์ให้ผู้ใช้เห็นได้ทันที มีรูปร่างคล้ายจอภาพของโทรทัศน์บนจอภาพประกอบด้วยจุดจำนวนมากมาย เรียกจุดเหล่านั้นว่า จุดภาพ (pixel) ถ้ามีจุดภาพจำนวนมากก็จะทำให้ ผู้ใช้มองเห็นภาพบนจอได้ชัดเจนมากขึ้น จอภาพที่ใช้ในปัจจุบันแบ่งได้เป็นสองประเภท คือ
·       จอซีอาร์ที (Cathode Ray Tube) นิยมใช้กับเครื่องไมโครคอมพิวเตอร์ส่วนมากในปัจจุบันใช้หลักการยิงแสงผ่านหลอดภาพคล้ายกับโทรทัศน์
·       จอภาพแอลซีดี (Liquid Crystal Display) เป็นจอภาพที่มีลักษณะบาง น้ำหนักเบาและกินไฟน้อย แต่มีราคาสูง
·       การ์ดวิดีโอ (Video Card) การต่อจอภาพเข้ากับเครื่องไมโครคอมพิวเตอร์นั้นจะต้องมีแผงวงจรกราฟิก (Graphic Adapter Board) หรือเรียกอีกอย่างหนึ่งว่า การ์ดวีดีโอ (video card)
·       อุปกรณ์เสียง (Audio Output) คอมพิวเตอร์รุ่นใหม่ๆ มักจะมีหน่วยแสดงเสียง ซึ่งประกอบด้วย ลำโพง(speaker) และ การ์ดเสียง (sound card)
2.5.2 หน่วยแสดงผลถาวร หมายถึง การแสดงผลที่สามารถจับต้องและเคลื่อนย้ายได้ตามต้องการมักจะออกมาในรูปของกระดาษเช่น เครื่องพิมพ์ (Printer) เป็นอุปกรณ์ที่นิยมใช้กันมาก มีให้เลือกหลายชนิดขึ้นอยู่กับคุณภาพของตัวอักษร ความเร็วในการพิมพ์ และเทคโนโลยีที่ใช้งาน เครื่องพิมพ์สามารถแบ่งตามวิธีการพิมพ์ได้ 2 ชนิด คือ
·       เครื่องพิมพ์แบบกระทบหรือตอก (Impact printer) เป็นการใช้หัวเข็มตอกให้คาร์บอนบนผ้าหมึกติดบนกระดาษตามรูปแบบที่     
·       เครื่องพิมพ์แบบไม่กระทบหรือไม่ตอก (Nonimpact printer) เป็นการพิมพ์โดยใช้หมึกพ่นไปบนกระดาษหรือใช้ความร้อนและความดันเพื่อละลายหมึกให้เป็นลักษณะของอักขระ
·       เครื่องพิมพ์เลเซอร์ (Laser printer) ทำงานคล้ายกับเครื่องถ่ายเอกสาร คือ มีแสงเลเซอร์สร้างประจุไฟฟ้า ซึ่งจะมีผลให้โทนเนอร์ (toner) สร้างภาพที่ต้องการและพิมพ์ภาพนั้นลงบนกระดาษ เครื่องพิมพ์เลเซอร์จะมีรุ่นต่างๆที่แตกต่างกันในด้านความเร็ว และความละเอียดของงานพิมพ์ ในปัจจุบันสามารถพิมพ์ได้ละเอียดสูงสุดถึง 1200 จุดต่อนิ้ว (dot per inch หรือ dpi)
·       เครื่องพิมพ์พ่นหมึก (Inkjet printer) นิยมใช้กับเครื่องไมโครคอมพิวเตอร์ ส่วนมากจะพิมพ์สีได้ ถึงแม้จะไม่คมชัดเท่าเครื่องพิมพ์ชนิดเลเซอร์ แต่ก็คมชัดกว่าเครื่องพิมพ์ชนิดตอก และมีราคาถูกกว่าเครื่องพิมพ์ชนิดเลเซอร์ นิยมนำมาใช้งานตามบ้านอย่างมาก
·       เครื่องพลอตเตอร์ (Plotter) ใช้วาดหรือเขียนภาพสำหรับงานที่ต้องการความละเอียดสูงๆ นิยมใช้กับงานออกแบบทางสถาปัตยกรรมและวิศวกรรม มีให้เลือกหลายชนิดโดยจะแตกต่างกันในด้านความเร็ว ขนาดกระดาษ และจำนวนปากกาที่ใช้เขียนในแต่ละครั้ง มีราคาแพงกว่าเครื่องพิมพ์ธรรมดา

เหตุใดผู้บริหารจึงควรให้ความสนใจกับเทคโนโลยีฮาร์ดแวร์
เพราะการทำงานในองค์กรณ์นั้นจำเป็นต้องใช้เครื่องคอมพิวเตอร์ทำงานเป็นส่วนใหญ่ในองค์กร์ เพราะฉะนั้นคอมพิวเตอร์ที่ดีจึงนำพาให้บุคลากรใช้ได้อย่างเต็มประสิทธิภาพและทำงานได้อย่างรวดเร็ว ลดความเสี่ยงต่อการเครื่องคอมพิวเตอร์พังระหว่างการทำงานซึ่งอาจจะนำพามาสู่ความเสียหายต่อไฟล์งานที่สำคัญได้
หลักการเลือกซื้ออุปกรณ์คอมพิวเตอร์
การพิจารณาเลือกซื้อคอมพิวเตอร์ เป็นขั้นตอนสำคัญซึ่งเราควรต้องทำความเข้าใจก่อนศึกษาเรื่องอื่น ซึ่งเนื้อหาจะให้รายละเอียดและขั้นตอนในการเลือกซื้อเครื่องคอมพิวเตอร์ โดยพอสรุปขั้นตอนที่เราควรคำนึงถึงเป็น แผนภาพดังต่อไปนี้
สเป็คเครื่องพีซีสำหรับผู้ใช้งานระดับสูงที่แนะนำมีดังนี้
อุปกรณ์คอมพิวเตอร์
สเป็คที่แนะนำ
ซีพียู
รุ่น Intel Core 2 Duo หรือ Intel Core 2 Quad
แรม
ประเภท DDR2-800 ขนาด  1-2 GB ทำงานแบบ Dual Channel
ฮาร์ดิสก์
320 GB แบบ Serial ATA 300 (หรือนำ 250 GB มาต่อ RAID 0)
เมนบอร์ด
เลือกแบบที่มีมาตรฐานการเชื่อมต่อ AGP 8x สำหรับการ์ดแสดงผลประสิทธิภาพสูง
การ์ดแสดงผล
nVidia GeForce 8600GTS หรือ ATi Radeon HD 2600 Pro
จอแสดงผล
จอภาพ LCD 19-22 นิ้ว
การเลือกซื้อซีพียูต้องพิจารณาเรื่องความเร็ว ความเร็วขั้นต่ำแปรเปลี่ยนไปตามเวลา โดยปกติจะดูว่าซื้อเพื่ออะไรเช่นถ้าซื้อใช้งานเป็นเพียงอินเทอร์เน็ตบราวเซอร์ในห้องเรียนให้นิสิตใช้เพื่อเป็นการเรียกเข้าสู่อินเทอร์เน็ต สามารถใช้ซีพียูรุ่นต่ำที่มีขายในปัจจุบันราคาซีพียูในระดับต่ำนี้ การตัดสินใจจะเลือกซื้ออะไรมาใช้ คงต้องลองศึกษาจากหลายๆ องค์ประกอบ โดยเฉพาะการมองหารายละเอียด ข้อดี ข้อเสีย รวมทั้งงบประมาณการลงทุนต่างๆ ที่มีอยู่ด้วย เทคนิคที่เกี่ยวกับซีพียูทั้งสองด้านนี้ สามารถหาได้ได้จากเว็บไซต์ของบริษัท คือ www.amd.com และ www.intel.com ผู้สนใจลองทำการศึกษาอย่างน้อยเป็นความรู้ที่จะมีประโยชน์ต่อไป

วิวัฒนาการของโครงสร้างพื้นฐาน It  (Evolution Of It Infrastructure)
โครงสร้างของ IT จะประกอบด้วย : สิ่งอำนวยความสะดวกทางกายภาพต่าง ๆ ส่วนประกอบต่าง ๆ ของ IT การให้บริการ ด้านต่าง ๆ ของ IT, และ การบริหารด้าน IT ที่สนับสนุนการปฏิบัติงานทั่วทั้งองค์กร 
องค์หลัก ๆ IT Infrastructure ได้แก่ เทคโนโลยีของคอมพิวเตอร์ 1) ด้านฮาร์ดแวร์ 2)ซอฟท์แวร์ 3) สิ่งอำนวยความสะด้วยในด้านโครงข่ายและการสื่อสาร 4) ฐานข้อมูล 5)บุคคลผู้ทำการบริหารจัดการสารสนเทศ และ รวมไปถึง การบริการด้าน IT ประกอบ ด้วย การพัฒนาระบบบริหารข้อมูล และ การรักษาความ ปลอดภัยในส่วนที่เกี่ยวข้อง 
นอกจากนั้น IT Infrastructure ยังประกอบด้วยทรัพยากรต่างๆ ที่กล่าวมาข้างต้น รวมไปถึง การประ กอบเข้าด้วยกัน การทำงานร่วมกัน การจัดทำเอกสารต่าง ๆ การดูแลรักษา และ การจัดการ
Information Infrastructure (สรุปได้ดังรูป)
1) Hardware
2) Software
3) Networks & communication facilities
4) Databases
5) IS personnel 
สถาปัตยกรรมของ IT (Information technology architecture) หมายถึง แผนที่หรือ แบบแผนระดับสูงหนึ่ง ๆ ที่แสดงทรัพยากรต่างๆ เกี่ยวข้องกับสารสนเทศในองค์กรหนึ่ง ๆ ซึ่งชี้ให้เห็นถึงแนวทางของการปฏิบัติงานในปัจจุบัน และเป็นพิมพ์เขียว (blueprint)ของทิศทางที่จะมุ่งไปในอนาคต เพื่อให้มั่นใจได้ว่า โครงสร้างของ IT ในองค์การนั้น ๆ สามารถรองรับกลยุทธ์ทางธุรกิจของบริษัทได้ ในการจัดเตรียม IT architecture ผู้ออกแบบจะต้องมีสารสนเทศอยู่ในมือสองส่วน ได้แก่:
- ธุรกิจนั้นต้องการสารสนเทศอะไร หมายถึง วัตถุประสงค์ต่างๆ ปัญหาต่าง ๆ ของ องค์กร รวมถึงการนำ IT เข้าไปมีส่วนร่วม (สนับสนุน) 
- IT infrastructure ที่มีอยู่แล้ว ถูกวางแผนเอาไว้แล้ว และ การประยุกต์ใช้งานต่าง ๆ ในองค์กร มีอะไรบ้าง สารสนเทศในส่วนนี้รวมไปถึง ทรัพยากรต่าง ๆ ที่มีอยู่แล้ว ในปัจจุบันและแนวโน้มในอนาคตด้วย 
- เทอม “Information Technology หรือ IT” บางครั้งมันสร้างความสับสนให้กับเรา เหมือนกัน ในเอกสารการสอนนี้ เราจะใช้ในความหมายกว้าง ๆ ดังนี้
- IT หมายถึง การรวบรวมทรัพยากรที่เกี่ยวข้องกับสารสนเทศต่างๆ ในองค์กรหนึ่งๆ ผู้ใช้งานต่างๆ และ การบริหารสิ่งที่กล่าวมาแล้วข้างต้น ทั้งนี้ รวมถึง โครงสร้างของ IT และ ระบบสารสนเทศอื่น ๆ ทั้งหมดในองค์กรนั้น ๆ
โดยทั่วไปแล้ว มักจะใช้สลับไปมาระหว่างคำว่า “information system”

เทคโนโลยีที่เป็นแรงผลักดันให้เกิดการเปลี่ยนแปลงโครงสร้างพื้นฐาน IT (The Technology Driver Of IT Infrastructure Change)
เป็นที่ทราบกันดีว่า ปัจจุบันระบบโครงสร้างพื้นฐานทางด้านไอทีมีความซับซ้อนขึ้นมาก นอกจากนี้ระบบ ไอทียังเป็นพื้นฐานสำคัญในการทำธุรกิจขององค์กรอีกด้วย
ส่งผลให้หน่วยงานที่ดูแลระบบไอทีเผชิญ กับปัญหาในการบริหารระบบเพื่อตอบสนองความต้องการที่ซับซ้อนและหลากหลายจากผู้ใช้งานองค์กร รวมถึงลูกค้า จากความท้าทายทั้งหมดนี้ทำให้ผู้ดูแลระบบไอทีต้องปรับเปลี่ยนการบริหารระบบที่เป็นแบบ Reactive ให้เป็นเชิงรุกมากขึ้น รวมทั้งประยุกต์นวัตกรรมใหม่ๆ มาใช้งาน เพื่อลดค่าใช้จ่ายและเพิ่ม ประสิทธิภาพของการบริหารระบบไอทีขององค์กร
ความท้าทายเหล่านี้ทำให้เกิดเทคโนโลยีใหม่ในการบริหารระบบ ไอที เรียกว่า IT Operations Analytic หรือ ITOA เพื่อ เป็นเครื่องมือที่ช่วยวิเคราะห์ปัญหาที่เกิดขึ้นในระบบได้แบบ เรียลไทม์ โดยมีความสามารถที่จะระบุความผิดปกติที่เกิดขึ้น ค้นหาต้นเหตุ ของปัญหาและผลกระทบที่จะเกิดขึ้น รวมถึงแนวโน้มปัญหาที่จะเกิดขึ้น ในอนาคต ทำให้ผู้ดูแลระบบสามารถแก้ไขปัญหาได้อย่างรวดเร็ว และ สามารถหาทางป้องกันปัญหาก่อนที่จะมีผลกระทบรุนแรง
ทำไมเทคโนโลยี ITOA ถึงได้เกิดขึ้น ปัจจุบันองค์กรส่วนใหญ่มีเครื่องมือที่ใช้ดูแลระบบไอทีอยู่แล้ว เช่น Network Monitoring, System Monitoring, Application Performance Monitoring, Database Monitoring แต่เครื่องมือเหล่านี้จะทำงานแบบ Silo คืออุปกรณ์ Monitor แต่ละระบบจะดูแลเฉพาะระบบงานของตนเอง เท่านั้น และยังทำงานแยกอิสระจากกัน ดังนั้นเมื่อเกิดเหตุการณ์ผิดปกติ ที่ต้องอาศัยการวิเคราะห์ข้ามระบบ ผู้ดูแลระบบจะต้องใช้เวลาในการแก้ ปัญหานานมาก เนื่องจากต้องวิเคราะห์ปัญหาไล่ไปทีละระบบ จนกว่าจะ เจอต้นเหตุปัญหาที่แท้จริง
ด้วยเหตุนี้ผู้ดูแลระบบในหลายๆ องค์กรเริ่มมองเห็นว่าเครื่องมือที่ใช้ ดูแลระบบไอทีที่มีอยู่ ไม่สามารถตอบสนองต่อการดูแลระบบที่มี ความซับซ้อนอย่างมากในปัจจุบัน จึงทำให้เกิดการคิดค้นเทคโนโลยี IT Operations Analytic เพื่อใช้เป็นเครื่องมือที่นำมาแก้ไขปัญหาและ ข้อจำกัดเหล่านี้

ITOA คืออะไร
Gartner ได้ให้คำจำกัดความของ ITOA ว่าคือ กระบวนการและเทคโนโลยี รวมถึงเป็นเครื่องมือที่มีความสามารถในการวิเคราะห์การทำงานของ ระบบไอทีต่างๆ ภายในองค์กรได้โดยอัตโนมัติ ทำให้สามารถนำมาใช้ วิเคราะห์พฤติกรรมของระบบ แสดงสถานะและความผิดปกติของระบบ วิเคราะห์ประสิทธิภาพ รวมถึงค้นหาสาเหตุของปัญหาและเหตุการณ์ ผิดปกติที่เกิดขึ้นในระบบไอทีขององค์กร ส่วนใหญ่ ITOA จะนำไปใช้ในองค์กรที่มีระบบไอทีและระบบ Applications ที่ซับซ้อน โดยเป็นเครื่องมือที่รวบรวมและวิเคราะห์การทำงานของอุปกรณ์ ไอทีทั้งหมดในระบบไม่ว่าจะเป็น Server, Network, Storage, OS, Virtualization, Database, Middleware รวมถึง Applications ทั้งแบบ Package และ In-House Develop ได้แบบครบวงจร ทำให้สามารถนำ มาใช้ค้นหาและระบุต้นเหตุของปัญหาที่มีความซับซ้อนได้อย่างรวดเร็ว เพื่อลดเวลาของการแก้ปัญหา (Mean Time to Repair) และผลกระทบ ที่เกิดขึ้นนอกจากนี้ ITOA ยังสามารถเก็บข้อมูลเหล่านี้ย้อนหลัง เพื่อนำ มาวิเคราะห์พฤติกรรมของระบบไอที ทำให้ผู้ดูแลระบบสามารถนำมาใช้ เป็นข้อมูลในการวางแผนปรับปรุงระบบ และยังใช้เป็นข้อมูลเพื่อทำ Capacity Planning ได้อย่างมีประสิทธิภาพอีกด้วย

คอมพิวเตอร์ฮาร์ดแวร์แพลทฟอร์ม (Computer Hardware Platforms)
Platform จะประกอบด้วย ระบบปฏิบัติการ  ,โปรแกรมประสานงานระบบคอมพิวเตอร์ และ ไมโครโพรเซสเซอร์ ซึ่ง Microchip ของคอมพิวเตอร์ใช้ในการทำงานด้ายตรรกะ และจัดการการเคลื่อนย้ายข้อมูล ระบบปฏิบัติการต้องได้รับการออกแบบให้ทำงานกับคำสั่งของ ไมโครโพรเซสเซอร์ เช่น Microsoft Windows 95 ได้รับการสร้างให้ทำงานกับชุดคำสั่งของ ไมโครโพรเซสเซอร์ของ Intel เพื่อการใช้คำสั่งร่วมกัน นอกจากนี้ ยังหมายถึงส่วนอื่น ๆ เช่น เมนบอร์ด และ บัสของข้อมูล แต่ส่วนเหล่านี้กำลังเพิ่มลักษณะที่เป็นโมดูล และมาตรฐานมากขึ้น ในอดีตโปรแกรมประยุกต์แต่ละโปรแกรมยังจะเขียนใหม่ให้ทำงานเฉพาะ platform เนื่องจากแต่ละ Platform มีโปรแกรมอินเตอร์เฟซที่ต่างกัน ดังนั้น โปรแกรมของคอมพิวเตอร์ส่วนบุคคลต้องมีการเขียนให้ทำงานกับ Windows ชุดหนึ่ง และทำงานกับ Macintosh อีกชุดหนึ่ง แต่ระบบเปิดหรือมาตรฐานด้านอินเตอร์เฟซยินยอมให้บางโปรแกรมทำงานกับ Platform ที่ต่างกันโดยผ่านโปรแกรมตัวกลาง หรือ broker Programs
Apple Inc หรือในชื่อเดิม บริษัทแอปเปิลคอมพิวเตอร์ (Apple Computer Inc.) เป็นบริษัทในซิลิคอนแวลลีย์ ทำธุรกิจเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ แอปเปิลปฏิวัติคอมพิวเตอร์ตั้งโต๊ะในยุค 70 ด้วยเครื่องแอปเปิล I และแอปเปิล II และแมคอินทอช ในยุค 80 ปัจจุบันแอปเปิลมีชื่อเสียงด้านฮาร์ดแวร์ เช่น ไอแมค ไอพอด ไอโฟน ไอแพด และร้านขายเพลงออนไลน์ไอทูนส์
International Business Machines, IBM หรือชื่อเล่น บิ๊กบลู (ยักษ์สีฟ้า) เป็นผู้ผลิตคอมพิวเตอร์และให้บริการด้านคอมพิวเตอร์และสารสนเทศ รายใหญ่ของโลก มีสำนักงานใหญ่อยู่ที่สหรัฐอเมริกา มีพนักงานมากกว่า 330,000 คนทั่วโลก ไอบีเอ็มก่อตั้งมาตั้งแต่คริสต์ศตวรรษที่ 19 และเป็นบริษัทสารสนเทศที่ใหญ่ที่สุดในโลก[1] มีสาขามากกว่า 170 ประเทศทั่วโลก ไอบีเอ็มเป็นผู้บุกเบิกเทคโนโลยีเมนเฟรมและนาโนเทคโนโลยี[2]

LINUX เริ่มแรกของของลินุกซ์พัฒนาและใช้งานในเฉพาะกลุ่มผู้ที่สนใจ ซึ่งในปัจจุบันลินุกซ์ได้รับความนิยมเนื่องมาจากระบบการทำงานที่เป็นอิสระ ปลอดภัย เชื่อถือได้ และราคาต่ำ จึงได้มีการพัฒนาจากองค์กรต่าง ๆ เช่น ไอบีเอ็ม ฮิวเลตต์-แพคการ์ด และโนเวลล์ ใช้สำหรับในระบบเซิร์ฟเวอร์และพีซี เริ่มแรกลินุกซ์พัฒนาสำหรับใช้กับเครื่อง อินเทล 386 ไมโครโพรเซสเซอร์ หลังจากที่ได้รับความนิยมปัจจุบัน ลินุกซ์ได้พัฒนารับรองการใช้งานของระบบสถาปัตยกรรมคอมพิวเตอร์ในระบบต่าง ๆ รวมถึงในโทรศัพท์มือถือ และกล้องวิดีโอ

ไมโครคอมพิวเตอร์ (Microcomputer)
          เป็นเครื่องคอมพิวเตอร์ที่มีขนาดเล็กที่สุด ราคาถูกที่สุด ใช้งานง่าย และนิยมมากที่สุดราคาของเครื่องไมโครคอมพิวเตอร์จะอยู่ในช่วงประมาณหมื่นกว่า ถึง แสนกว่าบาท ในวงการธุรกิจใช้ไมโครคอมพิวเตอร์กับงานทุก ๆ อย่าง ไมโครคอมพิวเตอร์มีขนาดเล็กพอที่จะตั้งบนโต๊ะ (DeskTop) หรือ ใส่ลงในกระเป๋าเอกสาร เช่น คอมพิวเตอร์วางบนตัก (Lap top) หรือโน๊ตบุ๊ค (Note book) ไมโครคอมพิวเตอร์สามารถทำงานในลักษณะประมวลผลได้ด้วยตนเอง โดยไม่ต้องเชื่อมโยงกับคอมพิวเตอร์เครื่องอื่นเรียกว่าระบบแสตนอโลน (Standalone system)มีไว้สำหรับใช้งานส่วนตัวจึงเรียกเครื่องไมโครคอมพิวเตอร์ได้อีกชื่อหนึ่งว่า คอมพิวเตอร์ส่วนบุคคลหรือเครื่องพีซี (PC:Personal Computer) และสามารถนำเครื่องไมโครคอมพิวเตอร์มาเชื่อมต่อกับเครื่องไมโครคอมพิวเตอร์เครื่องอื่น ๆ หรือเชื่อมต่อกับเครื่องเมนเฟรม เพื่อขยายประสิทธิภาพเพิ่มขึ้น ทำให้เครื่องไมโครคอมพิวเตอร์เป็นที่นิยมใช้กันแพร่หลายอย่างรวดเร็ว   

มินิคอมพิวเตอร์ (Minicomputer)
          มินิคอมพิวเตอร์ถูกสร้างขึ้นเป็นครั้งแรกในระหว่างปี ค.ศ.1960 - 1969 เพื่อใช้กับงานเฉพาะอย่าง เช่น ใช้ในการสื่อสารข้อมูล ในปัจจุบันมินิคอมพิวเตอร์เป็นคู่แข่งกับเมนเฟรมในด้านประสิทธิภาพการทำงานและถูกนำมาใช้ในงานประมวลผลคำ งานในโรงงานอุตสาหกรรมที่ควบคุมด้วยระบบอัตโนมัติ และใช้กับโปรแกรมประยุกต์ในการทำงานหลาย ๆ อย่างมินิคอมพิวเตอร์คล้ายกับเมนเฟรมคอมพิวเตอร์แต่ขนาดเล็กกว่า ราคาถูกกว่า และบำรุงรักษาง่ายกว่า ราคาอยู่ในช่วงประมาณ 1 ล้านกว่าขึ้นไป มินิคอมพิวเตอร์สามารถเชื่อมโยงกับ เครื่องเทอร์มินัลได้หลาย ๆ เครื่อง มีผู้ใช้งานได้หลาย ๆ คนในเวลาเดียวกัน (Multiuser)

เมนเฟรมคอมพิวเตอร์ (Mainframe computer)
ผลการค้นหารูปภาพสำหรับ Mobile Platform          เมนเฟรมคอมพิวเตอร์เป็นเครื่องคอมพิวเตอร์ขนาดใหญ่ ทำงานร่วมกับอุปกรณ์หลายๆ อย่างด้วยความเร็วสูงใช้ในงานธุรกิจขนาดใหญ่ มหาวิทยาลัยธนาคารและโรงพยาบาลเมนเฟรมคอมพิวเตอร์ สามารถเก็บข้อมูลที่มีปริมาณมาก ๆ เช่น ในการสั่งจองที่นั่งของสายการบินที่บริษัททัวร์รับจองในแต่ละวัน นอกจากนี้ยังสามารถเชื่อมโยงใช้งานกับเครื่องเทอร์มินัล (Terminal) หลาย ๆ เครื่อง ในระยะทางไกลกันได้ เช่น ระบบเอที่เอ็ม (ATM) การประมวลผลข้อมูลของระบบเมนเฟรมนี้มีผู้ใช้หลาย ๆ คนในเวลาเดียวกัน (Multiuser) สามารถประมวลผลโดยแบ่งเวลาการใช้ซีพียู (CPU) โดยผ่านเครื่องเทอร์มินัล การประมวลผลแบบแบ่งเวลานี้เรียกว่า Time sharing
การใช้เมนเฟรมต้องคำนึงถึงในเรื่องความร้อน อุณหภูมิ และความชื้น ซึ่งต้องถูกควบคุมด้วยระบบพิเศษและต้องการทีมงานในการดำเนินงาน โดยปกติบริษัทผู้ขายคอมพิวเตอร์ จะให้การฝึกอบรมแก่พนักงานผู้ใช้เครื่องและดูแลการบำรุงรักษาเครื่อง
เมนเฟรมคอมพิวเตอร์จะมีขนาดใหญ่ และราคาแพงกว่ามินิคอมพิวเตอร์

แนวโน้มของคอมพิวเตอร์ฮาร์ดแวร์แพลทฟอร์ม (Current Trends In Computer
ในอนาคตซอฟต์แวร์จะยิ่งเอื้อให้ใช้งานได้ง่าย  ไม่จำเป็นต้องใช้เวลาในการเรียนรู้มาก  ขณะเดียวกันมีลักษณะการใช้งานเชิงกราฟิก และการปฏิสัมพันธ์ที่โต้ตอบกันได้ทันทีมากขึ้น มีเครื่องมือช่วยผู้ใช้มากขึ้น ไม่ว่าจะเป็นคู่มือ คำถามที่ใช้บ่อยและอื่นๆ   ผู้ใช้ทั่วไปสามารถเข้าถึงข้อมูลได้โดยตรง ขณะเดียวกันซอฟต์แวร์เหล่านี้ยังพยายามพัฒนาบนมาตรฐาน เช่น ซอฟต์แวร์ในองค์การปัจจุบันออกแบบให้ทำงานกับคอมพิวเตอร์หลากหลายลักษณะ เช่น คอมพิวเตอร์แบบตั้งโต๊ะ พีดีเอ เป็นต้น และยังมีมาตรฐานในการนำเสนอและจัดการเนื้อหาได้มากขึ้นไม่ว่าจะเป็นเอชทีเอ็มแอลและเอ็กซ์เอ็มแอล  ขณะเดียวกันยังเป็นซอฟต์แวร์แบบบูรณาการ เพื่อเชื่อมโยงระบบสารสนเทศต่าง ๆ ให้สามารถทำงานร่วมกันและสนับสนุนการทำงานของทั้งองค์การ
โทรศัพท์ smart phone ทุกวันนี้ มันทำอะไรได้มากกว่าการเป็นโทรศัพท์เคลื่อนที่สามารถลงโปรแกรมเพิ่มได้ มีเซนเซอร์ต่างๆติดมากับเครื่องมากมาย ทั้งจอสัมผัส ทั้ง GPSทั้ง Accelerometer ทั้งซีพียูพลังสูง หน่วยความจำขนาดใหญ่ storage ขนาดใหญ่มีการเชื่อมต่อแบบ Bluetooth / Wi-Fi / Cellular เชื่อมต่ออินเตอร์เน็ตได้ทั่วโลก ฯลฯ มันเอาไปทำอะไรได้มากมาย ขอเพียงแค่รู้จักคิด มีความคิดสร้างสรรค์ และลงมือทำมันขึ้นมา

กรณีศึกษา เรื่อง “IS IT TIME FOR CLOUD COMPUTING” 223
Cloud Computing คือบริการที่ครอบคลุมถึงการให้ใช้กำลังประมวลผล หน่วยจัดเก็บข้อมูล และระบบออนไลน์ต่างๆจากผู้ให้บริการ เพื่อลดความยุ่งยากในการติดตั้ง ดูแลระบบ ช่วยประหยัดเวลา และลดต้นทุนในการสร้างระบบคอมพิวเตอร์และเครือข่ายเอง ซึ่งก็มีทั้งแบบบริการฟรีและแบบเก็บเงิน
หากแปลความหมายของคำว่า Cloud Computing ดูจะเข้าใจยาก หรือถ้าแปลเป็นไทย การประมวลผลบนกลุ่มเมฆก็ยิ่งดูจะงงเข้าไปใหญ่ แต่น่าจะง่ายกว่าถ้าบอกว่า Cloud Computing คือการที่เราใช้ซอฟต์แวร์, ระบบ, และทรัพยากรของเครื่องคอมพิวเตอร์ของผู้ให้บริการ ผ่านอินเทอร์เน็ต โดยสามารถเลือกกำลังการประมวลผล เลือกจำนวนทรัพยากร ได้ตามความต้องการในการใช้งาน และให้เราสามารถเข้าถึงข้อมูลบน Cloud จากที่ไหนก็ได้ ดังแผนภาพด้านล่างนี้นั่นเอง

จากภาพด้านบนนี้ จะเห็นว่าด้านในของกรอบที่เป็นก้อนเมฆก็คือทรัพยากรของผู้ให้บริการที่มีทั้ง Hardware และ Software (ซึ่งก็ทำงานบน Hardware ของผู้ให้บริการเช่นกัน) ผู้ใช้บริการเพียงแค่ต่อเชื่อมเข้าไปใช้ผ่าน Network ด้วยเว็บบราวเซอร์ หรือ Client แอพพลิเคชั่น บนอุปกรณ์ต่างๆของตน เช่น มือถือ, Tablet, Notebook, หรือ Chromebook เป็นต้น


ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น